มดแดง
มดแดง
มดแดงเป็นมดชนิดหนึ่ง มีสีแดง
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oecophyllasmaragdina(Fabricius)
จัดอยู่ในวงศ์ Formicidae
ชีววิทยาของมด
มดเป็นแมลงพวกหนึ่ง มีลักษณะที่สำคัญคือ บริเวณส่วนท้องคอดกิ่วตอนที่ตืดกับอกทางด้านหลังของส่วนท้องปล้องที่ ๑ หรือในมดบางชนิดที่รวมไปถึงปล้องที่ มดมีลักษณะเป็นโหนกสูงขึ้น โหนกนี้อาจโค้งมนหรือมีลักษณะเป็นแผนแบนก็ได้ ลักษณะโหนกนี้เป็นลักษณะเฉพาะที่ทำให้มดแตกต่างไปจากกลุ่มแมลงที่มองดูคล้ายกัน เช่น พวกต่อและแตน หรือแตกต่างไปจากปลวกที่คนทั่วไปมักสับสนกัน โดยเห็นมดกับปลวกเหมือนกันไปหมด นอกจากไม่เหมือนมดตรงที่ไม่มีโหนกแล้วปลวกยังมีส่วนท้องไม่คอดกิ่วอีกดัวย ทั้งนี้เพราะปล้องแรกๆ ของส่วนท้องของปลวกนั้น มีขนาดโตเท่าๆ กับส่วนนอก หรือโตกว่าส่วนนอก
มดอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเดียวกับปลวก มีชีวิตแบบสังคม โดยทำรังอยู่ดัวยกันรังหนึ่งๆ เป็นร้อย เป็นพัน หรือ หลายหมื่น หลายแสนตัว ไม่มีชนิดใดอยู่โดดเดี่ยว ประกอบด้วยวรรณะ แต่ละวรรณะมีขนาด รูปร่าง ลักษณะ และเพศต่างกัน กล่าวคือ มดตัวเมียเป็นแม่รัง ตัวผู้เป็นพ่อรัง และมดงานอันเป็นมดตัวเมียที่เป็นหมันทำหน้าที่สร้างรัง เลี้ยงรัง และเฝ้ารัง แต่ละวรรณะอาจมีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันออกไปอีก
เช่น มดงานซึ่งเป็นพวกที่ไม่มีปีกก็อาจทำหน้าที่ทำรังและเลี้ยงรัง พวกนี้มีร่างกายขนาดปรกติ หัว อก และท้องได้สัดส่วนกัน แต่ในเวลาเดียวกันอาจพบมดงานซึ่งทำหน้าที่เฝ้ารัง มดพวกนี้นอกจากตัวใหญ่กว่ามดงานธรรมดาอย่างมากแล้ว ยังมีหัวโต กรามใหญ่ ไม่ได้สัดส่วนกับลำตัวดัวย
ในหมู่มดตัวผู้และมดตัวเมียซึ่งเป็นพ่อรังและแม่รังนั้น อาจพบได้ทั้งพวกที่มีปีกและไม่มีปีก หรือมีลำตัวโตหรือเล็กขนาดไล่เลี่ยกับมดงานก็มี อย่างไรก็ตามมดตัวเมียที่เป็นแม่รังนั้นมักมีขนาดโตกว่าตัวผู้และมดงาน อาจสังเกตมดตัวผู้ได้จากดวงตาที่โตกว่ามดแม่รังและมดงานลูกรัง ซึ่งพวกหลังนี้มักมีตาเล็ก จนบางครั้งแทบมองไม่เห็นว่าเป็นตา ส่วนมดพ่อรังหรือมดแม่รังที่มีปีกนั้น ลักษณะของปีกแตกต่างจากพวกปลวกหรือแมลงเม่าอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ ปีกคู่หน้าของมดโตกว่าปีกคู่หลังมาก รูปร่างของปีกคู่หน้าและปีกคู่หลังก็แตกต่างกัน และที่สำคัญคือมีเส้นปีกน้อย ส่วนปลวกนั้น ปีกคู่หน้ากับปีกคู่หลังมีขนาดไล่เลี่ยกัน และรูปร่างของปีกก็คล้ายกัน เส้นปีกมีมากกว่าเส้นปีกของมดมาก เห็นเป็นลวดลายเต็มไปทั้งปีก
ในปัจจุบันมีการประมาณกันว่า มดที่มีการแยกชื่อวิทยาศาสตร์ไว้แล้ว มีอยู่ไม่น้อยกว่า ๖,๐๐๐ชนิด คนไทยต่างคุ้นเคยกับมดเป็นอย่างดี เพราะมีมดหลายชนิดอาศัยตามบ้านเรือน หรือในบริเวณใกล้เคียงกัยบ้านเรือน การเรียกชื่อมดของคนไทยอาจเรียกชื่อตามสีสันของมด โดยการเรียก “มด” นำหน้า เช่น มดแดง(OecophyllasmaragdinaFabrius) เพราะมีตัวสีแดง มดดำ (CataulacusgranulatusLatreillr, Hypocli-neathoracicus Smith) ซึ่งเพี้ยนไปเป็นมด เป็นต้น มดบางชนิดเราเรียกชื่อตามอาการอันเกิดจากถูกมดนั้นกัด เช่น มดคัน (CamponotusmaculatusFabricius) ซึ่งเมื่อถูกกัดแล้วจะทำให้รู้สึกคันในบริเวณแผลที่กัด หรือมดคันไฟ (Solenopsis geminate Fabricius, SolenopsisgeminataFabricius var. rufaJerdon) ซึ่งเมื่อถูกกัด นอกจากมีอาการคันแล้ว ยังมีอาการแสบร้อนเหมือนถูกไฟลวก
บางชนิดก็เรียกตามลักษณะท่าทางที่มดแสดงออก เช่น มดตะลีตะลาน (AnoploessislongipesJerdon) ซึ่งเป็นมดที่ชอบวิ่งเร็วและวิ่งพล่านไป เปรียบเสมือนคนที่วิ่งดัวยความตกใจ มดชนิดนี้บางที่เรียกสั้นๆว่า มดตะลาน ที่เพี้ยนเป็นมดตาลานก็มี หรือมดตูดงอล (CrematogasterdoheniiMaye) อันเป็นมดที่เวลาเดินหรือวิ่งมักยกท้องขึ้นสูงตั้งฉากกับพื้น ทำให้มองเหมือนก้นงอน เป็นต้น
มดบางชนิดเป็นมดที่ประชาชนตามท้องถิ่นใช้บริโภค จึงเรียกไปตามรสชาติเช่น ทางภาคเหนือ อันได้แก่ ชาวจังหวัดแพร่ น่าน ลำพูน เชียงราย เชียงใหม่ เป็นต้น นิยมใช้มดแดงซึ่งมีรสเปรี้ยวแทนน้ำส้ม ก็เรียกว่า มดส้มหรือมดมัน ซึ่งชาวบ้านบางถิ่นนิยมกินกันเนื่องจากมีรสชาติมันและอร่อย จึงเรียกชื่อตามรสชาตินั้น อย่างไรก็ตาม มีมดบางชนิดที่ชาวบ้านมิได้รัยกชื่อโดยใข้คำ “มด” นำหน้าเช่น เสี้ยนดิน (Doeylusorientalis Westwood) ซึ่งเป็นมดชนิดหนึ่งที่ทำลายกัดกินฝักถั่งลิสงที่ยังมิได้เก็บเกี่ยวอยู่ในดิน มดก็เช่นเดียวกับแมลงชนิดอื่นที่อาจมีการเรียกชื่อเพี้ยนไปตามท้องถิ่นเช่น แม่รังที่มีปีกของมดแดง (OecophyllasmsrhdineFabrius) ชาวชนบทในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อันได้แก่ ชาวจังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สุรินทร์ นครพนม ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี เรียกแม่เป้งในขณะที่คนภาคกบางมัดเรียกมดโม่ง ส่วนชาวจังหวัดภาคใต้ เช่น ชุมพร สุราษฎร์ธานี สงขา นครศรีธรรมราช ภูเก็ต เรียกว่าแม่เย้าหรือแม่เหยา
มดมีวงจรชีวิตในลักษณะที่พ่อรังและแม่รังที่มีปีกจะบินอกกจากรังและผสมพันธุ์กันเมื่อถึงเวลาแล้ว มดตัวผู้มักตาย มดตัวเมียซึ่งเตรียมทำรังใหม่ก็จะหาที่พักพิงอันมิดชิด แล้วสลัดปีกทิ้ง รอจนกระทั่งไข่แก่ก็จะว่างไข่ เมื่อไข่ฟักเป็นตัวอ่อนแม่รังก็จะให้อาหารเลี้ยงลูกอ่อนจนกระทั่งเข้าดักแด้ และอกกมาเป็นตัวโตเต็มที่กลายเป็นมดงานที่เลี้ยงดูแม่ต่อไป เมื่อมดงานทำหน้าที่เลี้ยงรังได้แล้ว แม่รังก็ทำ หน้าที่วางไข่เพียงอย่างเดียว การควบคุมวรรณะของรังอาจกระทำโดยการวางไข่ที่แตกต่างกัน เช่น ขนาดต่างกัน ไข่ขนาดเล็กออกมาเป็นมดตัวเมียที่เป็นแม่รังและมดงาน ส่วนไข่ขนาดใหญ่เป็นมดตัวผู้หรือมดพ่อรัง ลักษณะของวงจรชีวิตแบบนี้แตกต่างจากปลวก เพราะปลวกนั้นเป็ฯแมลงเม่า ซึ่งประกอบดัสยพ่อและแม่ปลวกที่มีปีกบินขึ้นผสมกันแล้ว พ่อรังมักมีชืวิตอยู่และร่วมทำรังกับแม่ปลวกซึ่งเตรียมออกไข่ เมื่อไข่ฟักเป็นตัว ก็จะเป็นปลวกงานที่สามารถทำงานเลี้ยงดูพ่อแม่ได้โดยไม่ต้องรอให้โตเต็มที่เสียก่อน นิสัยคาวมเป็นอยู่ของมดก็มีลักษณะต่างๆกัน บางพวกทำรังอยู่บนต้นไม้โยใช้ใบไม้ที่อาศัยมาห่อทำเป็นรวงรัง เช่นมดแดง หรือขนเศษพืชดินผสมน้ำลายทำรังติดกับไม้ที่อาศัย เช่นมดลี่หรือมดตูดงอล บางพวกทำรังในดินมีลักษณะเป็นช่องซับซ้อนคล้ายรังปลวก เช่นมดมันหรือแมลงมัน รังของมดจึงมีลักษณะของวัสดุที่สร้าง โครงสร้าง และรูปร่างแตกต่างกันไปมากมายให้เห็นได้เสมอ
ชีววิทยาของมดแดง
เมื่อมดแม่รังได้รับการผสมพันธุ์แล้ว ครั้นไข่แก่ก็จะวางไข่ ไข่มดแดงมีขนาดเล็กสีขาวขุ่น จะถูกวางเป็นกระจุกติดกับใบไม้ภายในรัง ไข่ที่ได้รับการผสมจะเจริญไปเป็นมดงานและมดแม่รังส่วนไข่ที่ไม่ได้รับผสมจะเจริญไปเป็นมดตัวผู้ เมื่อไข่เจริญขึ้นก็จะเข้าสู้ระยะตัวอ่อนในช่วงนี้อาจกินอาหารและขยับตัวได้เล็กน้อย จากนั้นก็กลายเป็นดักแด้ซึ่งมีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัยทุกอย่าง ขาและปีกเป็นอิสระจากลำตัว และหยุดกินอาหาร แล้วก็จะลอกตราบออกมาเป็นตัวเต็มวัย และที่ขาวขุ่นก็จะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีอื่นตามวรรณะมดตัวโตเต็มวัยทั้ง๓ วรรณะได้แก่
๑. มดแม่รัง มีความยาว ๑๕-๑๘ มิลลิเมตร สีเขียวใสจนถึงสีน้ำตาลแดงหัวและอกสีน้ำตาลคล้ายมดงาน แต่หัวกว้างว่า ส่วนนอกสั้น อกปล้องแรกตรงอกปล้องที่ ๓ ทู่ ขาสั้นกว่ามดงาน ปีกกว้าง ข้อต่อหนวดสั้นกว่ากว่ามดงาน ส่วนท้องเป็นรูปไข่ เมื่อได้รับการผสมพันธุ์แล้ว จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเท่าตัว ทำหน้าที่ขยายพันธุ์ รังหนึ่งอาจพบมดแม่รังหลายตัว แต่จะมีเพียงตัวเดียวเท่านั้นที่จะผสมพันธุ์ได้
๒. มดตัวผู้ มีความยาว ๖-๗ มิลลิเมตร ลำตัวสีดำ หัวเล็ก กรามแคบตาโต หนวดเป็นแบบเส้นด้าย มี ๑๓ ปล้อง ฐานหนวดยาว ปลายเส้นหนวดค่อยๆใหญ่ขึ้นเป็นรูปกระบอก อกปล้องที่ ๓ ใหญ่ ข้อต่อหนวดยาว ท้องรูปไข่ ปีกสีนวลใสมีหน้าที่ผสมพันธุ์เพียงอย่างเดียว อายุสั้นมาก เมื่อผสมพันธุ์แล้วจะตาย
๓. มดงาน มีความยาว ๗-๑๑ มิลลิเมตร กว้าง ๑.๕– ๒ มิลลิเมตร สีแดงหัวและอกมีขนสั้นๆ หัวกลม ส่วนล่างแคบ กรามไขว้กัน ปลายแหลมโค้งตอนหน้าแคบ อกปล้องที่ ๒ กลม โค้งขึ้น อกปล้องที่ ๓ คอด คล้ายอาน ขายาวเรียว ข้อต่อหนวดรูปไข่ ส่วนท้องสั้น เป็นมดตัวเมียที่เป็นหมันไม่มีปีก มีหน้าที่หาอาหาร ทำรัง และป้องกันศัตรู
ประโยชน์ทางยา
ตำราสรรพคุณยาบาราณว่า น้ำเยี่ยวมดแดงสีรสเปรี้ยว ฉุน สูดดมแก้ลมแก้พิษเสมหะโลหิต ชาวบ้านบางถิ่นใช้มดแดงถอนพิษ โดยการเอารังมดแดงมาเคาะใส่บริเวณปากแผลที่ถูกงูพิษกัด ให้มดต่อยที่บริเวณนั้น ไม่นานมดแดงก็จะตาย ใช้มือปาดเอามดแดงเอาไป แล้วเคาะมดแดงลงไปใหม่ ทำซ้ำๆไปเรื่อยๆจยกว่าจะถึงมือแพทย์ บางครั้งอาจต้องใช้มดแดงถึงกว่า ๑๐ รัง นอกจากนั้น ชาวบ้านบางถิ่นยังอาจใช้เยี่ยวมดแดงทำความสะอาดบาดแผลได้โดยเฉพาะเมื่อเกิดบาดแผลขึ้น และไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะทำความสะอาดบาดแผลหรือหายาใส่แผลได้ เช่น เมื่ออยู่ในป่าหรือในทุ่งนา ก็อาจเอามดแดง ๕-๑๐ ตัว (ตามขนาดของบาดแผล) วางไว้บริเวณปากแผล ให้ปวดแสบปวดร้อนมาก
พระคัมภีร์ธาตุวิภังค์ให้ยาแก้ “ฝีในท้อง ๗ ประการ” อันเกิดอาจ “หนองพิการหรือแตก” ซึ่งทำให้เกิดอาการไอ ผอมแห้ง เบื่ออาหารยาขนานนี้เข้า “รังมดแดง” เป็นเครื่องยาด้วย ดังนี้ ปุพ์โพ คือหนองพิการหรือแตก ให้ไอเป็นกำลัง ให้กายซูบผอมหนัก ให้กินอาหารไม่จักรส มักเป็นฝีในท้อง ๗ ประการ ถ้าจะแก้ท่านให้เอา รังมดแดง ๑ ตำลึง หัวหอม ๑ ตำลึง ๑ บาท ขมิ้นอ้อยยาว ๑ องคุลี ยาทั้ง ๗ สิ่งนี้ ต้ม ๓ เอา ๑ แทรก ดีเกลือตามธาตุหนักและธาตุเบาชำระบุพร้ายเสียก่อน แล้วจึงประกอบยาประจำธาตุในเสมหะก็ได้
รูปภาพจาก:commons.wikimedia.org,oknation.nationtv.tv