สมุนไพรพุงแก

สมุนไพรพุงแก

พุงแก Capparis siamensis Kurz
บางถิ่นเรียก พุงแก พุงขึ้ น้ำนอง (ภาคกลาง) เกี่ยวคอไก่ (นครราชสีมา) ขี้กา ไซซู (เลย) ขี้กาต้น หนามขี้แฮด (ภาคเหนือ) เดือยไก่ (สตูล) เมาขึ้น (ปราจีนบุรี) สายชู สายซู่ (ขอนแก่น)

   ไม้พุ่ม หรือ ไม้ต้น บางครั้งพบเป็นไม้เถา สูง 3-8 ม. กิ่งอ่อนสีเทา หรือ น้ำตาล มีขนเป็นรูปดาว ในไม่ช้าขนจะเกลี้ยง หนามถ้ามีจะเรียวบาง ส่วนมากจะโค้งลง ยาว 1-3 มม. ใบ รูปไข่ กว้าง 3-4.5 ซม. ยาว 6-9 ซม. ปลายใบแหลม ส่วนมากจะแหลมเป็นติ่ง โคนใบกึ่งเป็นรูปหัวใจ เส้นกลางใบและเส้นใบเห็นชัดทางด้านล่าง สีน้ำตาล หรือ เหลือง เส้นใบมี 4-5 คู่ สองคู่แรกจะออกใกล้ ๆ โคนใบ ก้านใบยาว 0.5-1.3 ซม. ดอก ออกเป็นช่องตามง่ามใบ ก้านดอกย่อยยาว 0.7-1.2 ซม. มีขนนุ่ม กลีบรองกลีบดอก กว้าง 3-5 มม. ยาว 8-10 มม. กลีบคู่นอกเป็นรูปเรือ มีขนรูปดาวกระจายทั่วไปทางด้านนอก ด้านในมีขนหนาแน่น กลีบคู่ในด้านนอกมีขนหนาแน่นโดยเฉพาะที่ปลาย ด้านในเกลี้ยง กลีบดอก รูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่กลับ บางครั้งเป็นรูปซ้อน กว้าง (13-) 18-27 มม. ยาว 7-10 มม. สีเขียว หรือ ขาว ด้านนอกมีขนสีน้ำตาล ด้านในเกลี้ยง กลีบคู่บนมีจุดสีเหลืองเข้ม ยาว 2-2.7 ซม. มีขนสีเทาหนาแน่น รังไข่ รูปไข่ ปลายแหลม มีขนหนาแน่น ยอดเกสรเมียเป็นตุ่ม. ผล ค่อนข้างกลม รี หรือ รูปไข่ ยาว 3-3.5 ซม. ปลายแหลม เปลือกหนา 2-3 มม. มีตุ่มเล็ก ๆ ขนาด 2 มม. เรียงตามยาวประมาณ 8 แถว เมื่อสุกสีแดง. เมล็ด กว้าง 5 มม. ยาวประมาณ 7 มม.

นิเวศน์วิทยา : พบตามป่าผลัดใบผสม ป่าไผ่ ป่าโปร่ง ตามชายป่าดงดิบ.

สรรพคุณ : เนื้อไม้ เผาเป็นถ่านสำหรับสีฟัน ทำให้ฟันขาวสะอาด สรรพคุณอื่นคล้ายกับชิงซี่ C.

 

รูปภาพจาก:wikia.com,tuninst.net,สมุนไพร