การเก็บสมุนไพร

การเก็บสมุนไพร

เครื่องยาสมุนไพรอ่านได้จากการเก็บสมุนไพร ทั้งจากที่ปลูกไว้หรือจากไหนธรรมชาติ การเก็บเกี่ยวอาจทำได้มาทำเป็นคนพื้นเมืองที่ไม่จำเป็นต้องมีทักษะหรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัย เช่น การเก็บเปลือกต้นกำลังเสือโคร่งจากป่าดิบเขา หรืออาจทำโดยคนงานที่มีทักษะด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย เช่น การเก็บใบของต้นปลอกนิ้วเทพี (Digitalis lanata Ehrh.) หรือการเก็บใบของต้นสาวพิลาศ (Atropa belladonna L.) ในแปลงปลูกของโรงงานอุตสาหกรรมยาใหญ่ๆในทวีปยุโรป ประเด็นสำคัญในการเก็บสมุนไพรที่ควรพิจารณาก็คือ ฤดูกาลที่เกี่ยวกับสมุนไพร เนื่องจากปริมาณของสารองค์ประกอบที่เป็นยาในสมุนไพรหรือตัวยาสำคัญมักมีปริมาณไม่คงที่ มีการแปรเปลี่ยนเป็นช่วงๆ ในปีหนึ่งๆ ตัวอย่างเช่น โกษฐ์น้ำเต้า (Rheum officinale Baill.) ที่เก็บในฤดูหนาว จะไม่มีตัวยาแอนทราควิโนน โอนหรืออนุพันธ์แอนทราควิโนนที่แสดงฤทธิ์เป็นยาถ่ายยาระบายเลย มีก็แต่สารแอนทรานอล ซึ่งจะค่อยๆถูกออกซิไดซ์แอนทราควิโนนเมื่ออากาศอุ่นขึ้นนอกจากนี้อายุของพืชสมุนไพรก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน กล่าวคือ อายุของสมุนไพรมีผลต่อการสร้างสารประกอบที่มีสรรพคุณยา ตัวอย่าง เช่น
-ใบสะระแหน่ฝรั่ง (Mentha piperita L.) ที่ยังอ่อนอยู่ มีสัดส่วนของสารชื่อพูเลโกนอยู่มาก แต่จะถูกเปลี่ยนเป็นสารเมนโทนและเกล็ดสะระแหน่(เมนทอล) เมื่อใบโตเต็มที่แล้ว
–การะบูร จะสะสมในแก่นของต้นการบูร [Cinnamomum camphora (L.) J.Presl] เมื่อต้นมีอายุมากขึ้น และพร้อมที่จะถูกเก็บได้เมื่อต้นกระโดนอายุตั้งแต่ ๔๐ ปีขึ้นไปแล้ว
–ต้นฝิ่น (papaver somniferum L.) หลังจากออกดอกแล้ว ๒.๕-๓ สัปดาห์ จะให้ยางฝิ่น ซึ่งนำออกมาเตรียมเป็นฝิ่นยาที่มีปริมาณสารมอร์ฟีนสูงสุดโดยที่ก่อนหน้านี้จะมีตัวอย่างอื่น เช่นโคเดอีน ทีบีเบนนาร์โคทีน ที่ถูกผลิตขึ้นมาในปริมาณสูงสุด
-ฝักวนิลา (Vanilla planifolia Andr.) จะสารวานิลวนิล  ในปริมาณสูงสุดหลังจากการผสมเกสรของดอกเกิดขึ้นแล้ว ๘ เดือน โดยทั่วไปแล้ว ในการเก็บสมุนไพรอัดถึงหลักเกณฑ์ทั่วไปได้ดังนี้
-ส่วนรากและเหง้า ควรเก็บในช่วงที่ใบและดอกร่วงหมดแล้ว ซึ่งมีการสะสมอาหารและสารประกอบสารองค์ประกอบที่เป็นยามากที่สุด ในการเก็บต้องขุดอย่างระมัดระวัง และทำความสะอาดให้ปลอดจากการปนเปื้อนของดินทราย-ส่วนเปลือก ควรเก็บในช่วงที่มีที่เริ่มผลิใบใหม่ เพราะยังมีตัวยาสะสมอยู่ในปริมาณมาก ในการเก็บนั้น ควรลอกเปลือกออกอย่างระมัดระวัง พยายามให้ส่วนเนื้อไม้ถูกปนเปื้อนน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้-ส่วนใบ ควรเก็บเมื่อเริ่มออกดอก การเก็บใบควรเนื่องใหม่ที่ไม่อ่อนไม่แก่เกินไป (แพทย์โบราณเรียก ใบเพสลาด) ส่วนใดที่ต้องการน้ำมันระเหยง่าย ต้องเก็บตอนเช้ามืดก่อนตะวันขึ้น และมักเก็บโดยใช้มือเด็ด
-ส่วนดอก ควรเก็บในระยะดอกตูมก่อนบาน หรือเมื่อดอกแรกแย้ม
-ส่วนผล มักเก็บเมื่อผลโตเต็มที่ คือแก่จัดแต่ยังไม่สุก
-ส่วนเมล็ด มักเก็บเมื่อผลสุกงอมเต็มที่แล้ว

อย่างไรก็ตาม หลักเกณฑ์ดังกล่าวมีข้อยกเว้นสำหรับพืชสมุนไพรบางชนิด ซึ่งต้องศึกษาในรายละเอียดของสมุนไพรแต่ละชนิดต่อไปหลังจากเก็บสมุนไพรแล้ว จะมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างทั้งทางฟิสิกส์และทางเคมีเกิดขึ้นในเซลล์และเนื้อเยื่อของสมุนไพรนั้น ปัญหาสำคัญที่ทำให้คุณภาพของยาสมุนไพรลดลง คือ การสลายตัวของสารประกอบที่เป็นยาโดยเอนไซม์ที่มีที่มีอยู่แล้วในเซลล์ของสมุนไพร ในพืชสมุนไพรลางชนิดนั้น เอนไซม์ถูกสร้างและเก็บในเซลล์คนละชนิดกับเซลล์ที่สะสม องค์ประกอบที่เป็นยา เมื่อเซลล์แตก -ไม่ว่าจะในระหว่างการเก็บเกี่ยวหรือในระหว่างผ่านกระบวนการแปรรูป เอนไซม์ก็สามารถทำปฏิกิริยากับตัวยาในสมุนไพรนั้นได้ เช่น ในกรณีของกลัยโคไซด์ชนิดไอโซไทยาเนตในยาเม็ดในเมล็ดพรรณผักกาดดำ (Brassica nigra L.) จะอยู่ในเซลล์คนละประเภทกับเอนไซม์ไมโรซิน ซึ่งทำหน้าที่สลายกลัยโคไซด์ชนิดนี้ เมื่อเซลล์แตกในระหว่างเก็บเกี่ยวเอนไซม์ก็จะสามารถย่อยสลายกลัยโคไซน์ชนิดนี้ได้

อย่างไรก็ตาม เอนไซม์ในพืชต้องการปริมาณน้ำที่พอเหมาะจึงจะเกิดปฏิกิริยาได้ การทำให้สมุนไพรแห้งอย่างรวดเร็วจึงอาจลดอันตรายการเกิดปฏิกิริยาปฏิกิริยาลงได้ แต่เอนไซม์หลายชนิดที่ทนความร้อนได้โดยไม่เสียรูปและคุณสมบัติไป และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดิม เมื่อมีน้ำหรือความชื้นในปริมาณที่พอเหมาะอีกครั้งหนึ่ง หลังจากเก็บส่วนต่างๆของสมุนไพรที่ต้องการได้แล้ว ต้องนำมาทำความสะอาดแยกเอาสิ่งปนเปื้อนโดยไม่ตั้งใจออกให้มากที่สุด แล้วจึงนำไปทำให้แห้ง และบรรจุหีบห่อต่อไป

 

รูปภาพจาก:mthai.com,herbthai12.blogspot.com