สนสามใบ

สนสามใบ

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pinus kesiya Royle ex Gordon
บางถิ่นเรียก เกี๊ยะอปลือกแดง (พายัพ) เกี๊ยะเปลือกบาง (เชียงใหม่) จ๋วง (พายัพและอีสาน) แปก (เพชรบูรณ์และไทยใหญ่-แม่ฮ่องสอน)

สนสามใบเป็นไม้ยืนต้นสูง ๑๐-๓๐ เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกหนา สีน้ำตาลชมพูอ่อน ล่อนเป็นสะเก็ดรูปตาข่าย ใบออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ ๓ ใบ เวียนสลับกัน ถี่ๆ ตามปลายกิ่ง ใบรูปเข็มยาว ๑๕-๒๕ เซนติเมตร ดอกแยกเพศ แต่อยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกเพศผู้สีเหลืองแบบหางกระรอก ออกเป็นกลุ่มใกล้ปลายกิ่ง แต่ละช่อยาว ๒-๔ เซนติเมตร ช่อดอกเพศเมียสีม่วง ออก ๑-๓ ช่อตามกิ่ง มีขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้ ผลออกเป็นกลุ่ม รูปไข่ สีน้ำตาล กว้าง ๕ เซนติเมตร ยาวราว ๘ เซนติเมตร เมล็ดมีจำนวนมาก ขนาดเล็ก มีปีก ต้องสนสามใบนี้มักพบขึ้นสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ๑,๐๐๐-๑,๖๐๐ เมตร

ยางสน หรือ turpentine เป็นชั้นน้ำมันในเนื้อไม้และไหลซึมออกมาเอง แต่ยังสนที่ไหลออกมาเองตามธรรมชาติมีปริมาณไม่มากพอ การผลิตยางสนให้ทางการค้าจึงต้องใช้วิธีทำให้เกิดแผล เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างเนื้อไม้ขึ้นมาใหม่ ทำให้มีชาน้ำมันมากขึ้นจนมีปริมาณมากพอที่จะผลิตในเชิงการค้าได้ ปริมาณยางส่วนที่ได้นั้นขึ้นอยู่กับวิธีการเก็บและขนาดต้น ต้นสนขนาดใหญ่ (อย่างน้อยขนาดวัดผ่าศูนย์กลางของต้นไม่น้อยกว่า ๔๕-๕๕ เซนติเมตร ) ให้ยางสนมากกว่าต้นขนาดเล็ก ต้นสนเหล่านี้หากถูกเจาะเอายางด้วยความชำนาญอาจให้ยางได้นานถึง ๑๕-๒๐ ปี ยางสนดิบที่เจาะได้จากต้นสนจะถูกนำไปตั้งบนเตา เติมน้ำลงไป ทำให้อุ่น เนื้อไม้และเศษสิ่งสกปรกคนอื่นๆจะลอยขึ้นมาข้างบน ตักเนื้อออก แล้วแยกน้ำออก จะได้ยางสน ยางสนที่ได้จากการเจาะในปีแรกเป็นชนิดที่มีคุณภาพดีที่สุด เรียก ยางสนพรหมจรรย์ ให้น้ำมันสนร้อยละ ๑๕-๓๐ และให้ชันสนสีอำพันร้อยละ ๗๐-๘๕ สวนยางสวนที่ได้จากการเจาะในปีที่ ๒ และ ๓ มีคุณภาพเลวกว่า สีเข้มกว่า ให้น้ำมันสนหอมให้มากกว่าร้อยละ ๑๐ และให้ชันสนสีน้ำตาลอมเหลืองหรือสีแดงอมเหลือง ยางสนเป็นก้อน รูปร่างไม่แน่นอน ทีบแสง สีอมเหลืองถึงสีเหลือง ภายในมีสีขาวเหลืองหรืออ่อนกว่า ค่อนข้างเป็นมัน เมื่อทำให้ร้อนจะเหนียวเหนอะหนะ เมื่อเย็นจะเปราะ มีกลิ่นหอม รสเผ็ดร้อน ยางสนนี้ใช้ภายนอกเป็นยาถูนวด และใช้เตรียมน้ำมันสนและชันสน

น้ำมันสนหรือ turpentine oil จะเป็นชายอ่อนเป็นน้ำมันที่ได้จากการกลั่นยางสนในเครื่องกลั่นขนาดใหญ่ที่ทำด้วยทองแดง ซึ่งเชื่อมต่อกับเครื่องควบแน่นและภาชนะรองรับ เมื่อให้ความร้อนจนถึง ๑๕๖ – ๑๘๐°ซ. ไอของน้ำมันจะออกหมด ไอน้ำมันสนเใอผ่านเครื่องควบแน่นที่มีน้ำเย็นหล่ออยู่ จะกลั่นตัวเป็นหยด น้ำมันไหลลงสู่ภาชนะที่รองรับ ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ผลิตน้ำมันสน รายใหญ่ที่สุดในโลก ผลิตได้ราวปีละ ๓ ล้านแกลลอน น้ำมันสนเป็นของเหลว ใส ไม่มีสีมีกลิ่นและรส (เผ็ดร้อน) เฉพาะตัวเมื่อเก็บไว้นานหรือถูกอากาศ กลิ่นนและรสของน้ำมันสอนจะรุนแรงขึ้นและไม่ชวนดม องค์ประกอบทางเคมีในน้ำมันส่วนใหญ่เป็น อัลฟา-ไพนีน ร้อยละ ๕๕-๖๕ และเบตา-ไพนีนร้อยละ ๒๕-๓๕ ในปัจจุบันใช้น้ำมันสนผสมในยากินน้อยมาก เคยใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แต่มักใช้ภายนอกเป็นยากระตุ้น ใช้ถูนวดทำให้ผิวหนังร้อนแดง หรือใช้ในรูปของยาประคบ ในกรณีที่เกิดการอักเสบ เนื่องจากนั่งนานๆ ใช้เป็นตัวทำละลายสำหรับขี้ผึ้งต่างๆ ใช้ผสมสีน้ำมันสำหรับงานศิลปะ หรือใช้ผสมสีทาบ้าน ใช้เป็นตัวตั้งต้นในการสังเคราะห์การบูร อกจากนี้ยังเป็นส่วนผสมในยาเตรียมอีกหลายชนิด

ชันสน หรือ rosin(colophony) นี่เป็นชันแข็งที่เหลือจากการกลั่นเอาน้ำมันสน ออกจากยางสน ในทางอุตสาหกรรมนั้นมีการนำยางสนมากลั่นในเครื่องกลั่นทำด้วยทองแดง โดยใส่ลงไปในหม้อกลั่น (ขนาดใหญ่ จุราว ๒๐-๓๐ บาร์เรล) ราวครึ่งหนึ่งแล้วเติมน้ำหมักน้ำลงไปพอควรเพื่อป้องกันการไหม้ของชันสน นำไปตั้งบนเตาอิฐที่มีที่ให้ความร้อนด้วยพื้นที่อุณหภูมิต่ำ ช้อนเศษไม้ที่ผลหมาในยาสอนซึ่งจะลอยขึ้นมาบนผิวหน้าออก จากนั้นจึงเพิ่มอุณหภูมิ จนน้ำมันสนถูกกลั่นออกมา เมื่อกันจนไม่มีน้ำมันสนออกมาอีกแล้วจึงหยุดกลั่น ส่วนที่เหลือจะเป็นชันปล่อยให้ไหลผ่านเครื่องกรองที่ทำด้วยตะแกรงลวด ในขณะที่กำลังหลอมอยู่ลงไปยังถังเก็บ เมื่อปล่อยให้เย็นจะแข็งตัวเป็นของแข็ง ชันสนชนิดที่ดีที่สุด ได้จากต้นสนเขาในปีแรก มีสีอำพันอ่อนอ่อนๆ เรียกว่า ชันสีอำพัน ยางสนที่กรีดได้ในปีต่อมา จะมีสัดส่วนของน้ำมันสนลดลงเรื่อยๆ ในขณะเดียวกันก็ให้ชันสนเพิ่มขึ้นและสีเข้มขึ้น นอกจากนี้หากในระหว่างการกลั่นใช้ความร้อนสูงเกินไป จะทำให้ชันสนสีเข้มขึ้นจนเกือบดำ เรียก ชันสีดำ ในทางการค้านั้น ชันสนชนิดต่างๆจะมีสีแตกต่างกันมาก จากสีอำพันอ่อรๆถึงสีเกือบดำ ชันสนจะถูกเก็บ เป็นชิ้นหรือก้อนขนาดใหญ่ ในภาชนะที่ปิดสนิท เมื่อเก็บไว้นานๆ จะทำให้ชันสนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น เนื่องจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน ตามปรกติชันสนที่ใช้ในทางเภสัชกรรมมักเป็นก้อน รูปร่างไม่แน่นอน สีเหลืองอ่อนหรือสีอำพัน หรือสีเหลืองน้ำตาล เมื่อถูกอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีเทา ชันสนมีลักษณะโปร่งแสง แข็ง และเป็นมัน บดเป็นผงได้ง่าย มีรอยแตกเป็นแว่นบางๆ กลิ่นและรสเหมือนยางสนและขมเล็กน้อย จะอ่อนตัวที่ ๘°ซ และหลอมหมดที่ ๑๐๐°ซ เวลาไหม้จะให้เปลวที่มีควันมาก 4ง สีค่อนข้างเหลือง สุดท้ายจะเหลือเท่าไม่เกินร้อยละ ๐.๑ องค์ประกอบสำคัญในชันสนจะมีสัดส่วนต่างจากการตามแต่ละชนิดของส่วนเขา ที่ให้ชันสน และตามแต่การเตรียม อายุ และกรรมวิธีในการเก็บรักษา อย่างไรก็ตาม สารสำคัญในชันสน คือ กรดซันเรซิน ซึ่งเป็นพวกกรดอะไบอีติ ราวร้อยละ ๘๔ นอกจากนี้ยังมีสารเรซิน ราวร้อยละ ๕-๖ และ เอสเตอร์ ของกรดไขมันอีกหลายชนิด มีน้ำมันระเหยง่ายๆร้อยละ ๖.๕ และมีสารที่มีรสขมจำนวนเล็กน้อย ชันสนที่มีสีอำพันอ่อนนั้น ในทางเภสัชกรรมใช้เป็นตัวกระตุ้นและเป็นสารที่ทำให้แข็งตัว ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ใช้เป็นตัวยาสำคัญในการเตรียม ลางชนิด นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาขับปัสสาวะสำหรับสัตว์ ใช้ในอุตสาหกรรมทำกระดาษ อุตสาหกรรมทำสบู่ ตลอดจน ใช้ในอุตสาหกรรมทำหมึกพิมพ์และยาขัดพื้น

 

รูปภาพจาก:cru.ac.th,fca16mr.com,bloggang.com,สมุนไพร