สมุนไพรโกศพุงปลา

สมุนไพรโกศพุงปลา 

โกศพุงปลา (Dischidia rafflesiana Wall.)
บางถิ่นเรียกว่า โกศพุงปลา จุกโรหินี (กลาง) กล้วยไม้ (เหนือ) เถาพุงปลา (ระนอง ตะวันออกกลาง) นมตำไร (เขมร) บวบลม (นครราชสีมา อุบลราชธานี).

เป็นพืชที่อาศัยเกาะตามต้นไม้ มีรากออกตามข้อ เพื่อยึดเกาะ ใบ มี 2 ชนิด รูปร่างต่างกันมาก ชนิดแรกมีรูปร่างคล้ายถุงปากแคบ กว้าง 2-2.5 ซม. ยาว 5-12.5 ซม. แบนเป็นเหลี่ยม ด้านนอกสีเขียว หรือ เหลือง ด้านในสีม่วง เกลี้ยง ชนิดที่ 2 คือใบธรรมดา มีรูปค่อนข้างกลม ปลายใบมีติ่งแหลม เนื้อใบหนาและอวบน้ำ เกลี้ยง ยาว 1-2 ซม. ดอก ออกเป็นช่อ ก้านช่อสั้น ยาวประมาณ 3-15 มม. ก้านดอกสั้น; กลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่หรือรี ปลายกลีบแหลม ขอบกลีบมีขน ยาวประมาณ 1 มม. ฐานติดกันเล็กน้อย; กลีบดอก 5 กลีบ ติดกันเป็นท่อที่โคน ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ท่อดอกจะป่องเบี้ยวไปข้างหนึ่ง ปลายเป็นรูปกรวย ที่ปากท่อดอกแต้มด้วยสีม่วง มีขนสั้นประปรายอยู่ด้านนอก ด้านในเกลี้ยง เส้าเกสรปลายแหลมโค้ง ผัก สีเหลืองอมส้ม ยาว 5-7.5 ซม.

นิเวศน์วิทยา : โกฐพุงปลาพบในป่าเบญจพรรณ ป่าแพะ และป่าชายเลน

สรรพคุณ : ราก เคี้ยวร่วมกับพลูแก้ไอ ปรุงเป็นยาฝาดสมานแก้ท้องร่วง แก้อาเจียน แก้บิด แก้ปวดเบ่ง เสมหะพิการ ใช้ภายนอกเป็นยาสมานแผล ใบ แก้ท้องเดิน

 

รูปภาพจาก:samunpri.com,dek-d.com,สมุนไพร