สมุนไพรอบเชย

สมุนไพรอบเชย 

อบเชยเป็นเปลือกของต้นพืชพวกอบเชย
อันเป็น
พืชในสกุล Cinnamomum
ในวงศ์ Lauraceae

หลายชนิด แต่ที่เป็นพรรณไม้ของไทยและให้เปลือกเรียก อบเชยนั้นมี ๒ ชนิดได้แก่
๑.ชนิดที่มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Cinnamomum bejolghotha (Buch.-Ham) Sweet
ชนิดนี้ลางถิ่นเรียก อบเชย (กรุงเทพ อุตรดิตถ์) ขนุนมะแว้ง เชียกใหญ่ (ตรัง) จวงดง (หนองคาย) เฉียด บริเวง (ระนอง) มหาปราบ (ตราด) มหาปราบตัวผู้ (จันทบุรี) สมุลแว้ง ฝนแสนห่า (นครศรีธรรมราช) แลงแวง (ปัตตานี) พะแว โมงหอม ระแวง (ชลบุรี)
พืชชนิดนี้เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง ๗ – ๒๕ เมตร เปลือกสีอมเทา ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงกันตรงเรียงตรงกันข้าม หรือเยื้องกันเล็กน้อย รูปขอบขนานแกมรูปรี กว้าง ๕ – ๑๐ เซนติเมตร ยาว ๑๕ – ๓๐ เซนติเมตร ปลายใบมน แหลม หรือเรียวแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ก้านใบค่อนข้างใหญ่ ยาว ๑ – ๒ เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อใหญ่ แตกแขนงใกล้ยอด ยาว ๒๐ – ๒๕ เซนติเมตร ก้านช่อยาว ๑๐-๑๕ เซนติเมตร ก้านดอกย่อยยาว ๒ – ๕ มิลลิเมตร มีขน ดอกย่อยมีขนาดเล็ก สีขาวอมเหลือง มีกลีบรวม ๖ กลีบ เชื่อมติดกันที่โคน มีขนเป็นมันเหมือนไหม กลีบรวมจะติดทนจนเป็นผล เกสรเพศผู้มี ๙ อัน เรียงเป็น ๓วง วงที่ ๑ และวงที่ ๒ เป็นการสอนที่มีอับเรณูหันหน้าเข้าใน ก้านเกสรมีขน วงที่ ๓ เป็นเกสรเพศผู้ที่มีอับเรณูหันหน้าออกนอก อับเรณูมี ๔ พู มีต่อม ๒ ต่อม อยู่ที่โคนก้าน ผลมีเนื้อ อวบน้ำ รูปรีหรือรูปค่อนข้างกลม ยาว ๗ – ๑๒ มิลลิเมตร

๒. ชนิดที่มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Cinnamomum iner Reinw. ex Blume
ชนิดนี้ลางถิ่นเรียก กระแจะโมง กะเชียด กะทังนั้น (ยะลา) เขียด เคียด เฉียด ชะนุต้น (ภาคใต้) เชียด มหาปราบตัวผู้ อบเชย อบเชยต้น (ภาคกลาง) บอกคอก (ลำปาง) ฝักดาบ (พิษณุโลก) พญาปราบ (นครราชสีมา) สะวง (ปราจีนบุรี)
พืชชนิดนี้เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง ๑๕ – ๒๐ เมตร เปลือกสีน้ำตาลอมเทา ค่อนข้างเรียบ เกลี้ยง เปลือกละใบมีกลิ่นหอม ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงกันข้ามหรือเลี้ยงกันเล็กน้อย รูปขอบขนาน กว้าง ๒.๕ – ๗.๕ เซนติเมตร ยาว 7 ถึง ๗.๕ – ๒๕ เซนติเมตร ปลายใบมน แหลม หรือเรียวแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนา เกลี้ยง แข็ง และกรอบ ก้านใบยาว ราว ๐.๕ เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อ แบบกระจายที่ปลายกิ่งยาว ๑๐ – ๒๕ เซนติเมตร ก้านช่อดอก ๕-๑๕ เซนติเมตร ดอกย่อยมีขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน หรือสีเขียวอ่อน ควรมีขนาดเล็ก รูปขอบขนาน ยาวราว ๑ เซนติเมตร  แข็ง ตามผิวมีคราบสีขาวๆ มีเมล็ดเดียว มีฐานรองผลรูปถ้วย

ตำราสรรพคุณยาโบราณว่า อบเชยมีกลิ่นหอม รสสุขุม มีสรรพคุณบำรุงดวงจิต แก้อ่อนเพลีย ชูกำลัง ขับลมผาย บำรุงธาตุ แก้บิด แก้ไข้สันนิบาต ใช้ปรุงเป็นยานัตถุ์ แก้ปวดหัว อบเชยชนิดอื่นๆที่เป็นของต่างประเทศและที่มีขายในท้องตลาด ได้จากเปลือกต้นของพืชในสกุล Cinnamomum ชนิดอื่นๆ เช่น
๑. อบเชยเทศ หรือ อบเชยลังกา ได้จากเปลือกชั้นในของกิ่งอ่อนหรือต้นอ่อนที่ทำให้แห้งแล้วของต้นอบเชยเทศ (Cinnamomum verum J.Presl) ชนิดนี้เป็นพืชอาสินที่สำคัญของประเทศศรีลังกา
๒. อบเชยญวน ได้จากเปลือกต้นที่ทำให้แห้งแล้วของต้นอบเชยญวน ( Cinnamomum loureirii Nees ) ที่ยังมีอายุน้อย เปลือกหนาและหยาบ หอมไม่มาก แต่มีรสหวาน
๓.อบเชยจีน ได้จากเปลือกต้นที่ทำให้แห้งแล้วของต้นอบเชยจีน ( Cinnamomum aromaticum Nees) อบเชยจีนมีเปลือกหนาและหยาบ ผลิตมากในประเทศจีน ๔.อบเชยชวา ได้จากเปลือกต้นที่ทำให้แห้งแล้วของต้นอบเชยชวา (Cinnamomum burmannii (Nees) Blume) ชนิดนี้ผลิตในประเทศอินโดนีเซีย ใช้กันมากในประเทศเนเธอร์แลนด์

 

รูปภาพจาก:FoodieTaste.com,wordpress.com,สมุนไพร