สัณฐานวิทยาของพืชสมุนไพร

สัณฐานวิทยาของพืชสมุนไพร

คำ”สัณฐาน” แปลว่า รูปร่าง ทรวดทรง ลักษณะ ส่วนคำ “วิทยา” คือ “วิทย” แปลว่า ความรู้ ดังนั้น “สัณฐานวิทยา” จึงแปลว่า ความรู้เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะความรู้เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะของพืชสมุนไพรมีความสำคัญอย่างไรต่อแพทย์ปรุงยา?

การที่ให้แพทย์ปรุงยาจะปรุงยาที่มีคุณภาพดี ใช้บำบัดโรค หรือบรรเทาอาการของโรคได้ผลดีนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ แต่สำคัญที่สุดก็คือ การเลือกใช้เครื่องยาให้ถูกชนิด ตามที่ตำรวจระบุไว้ หรือตามที่บูรพาจารย์ได้สอนไว้ การที่จะเลือกใช้เครื่องยาให้ถูกต้องได้นั้น จำเป็นต้องรู้จัก “ต้นยา” หรือ “พืชสมุนไพร” ที่ให้ครึ่งยานั้น และการที่จะรู้จักพันธุ์ไม้ที่ให้เครื่องยาเหล่านั้นได้ ต้องรู้จักรูปพรรณสัณฐานของต้นยาเหล่านั้นเป็นเบื้องต้น

เมื่อก่อนนี้แพร่ปรุงยามักเก็บตัวยาเหล่านั้นเองจากธรรมชาติในป่าเขา โดยการชี้แนะและถ่ายทอดอย่างใกล้ชิดจากครูหมอผู้มากด้วยประสบการณ์และความรู้ ซึ่งมักใช้วิธีการจดจําเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันนี้แพทย์ปรุงยามักไม่รู้จักต้นยา เนื่องจากเครื่องยาส่วนใหญ่สามารถหาซื้อได้จากร้านขายเครื่องอย่างซึ่งมีอยู่ทั่วไป ทำให้ความจำเป็นในการจดจำต้นยาลดน้อยลง อย่างไรก็ตาม เครื่องยาสมุนไพรที่หาซื้อได้จากท้องตลาดจำนวนมาก

(โดยเฉพาะชนิดที่มีราคาแพง) เมื่อถูกปลอมปน ปนเปื้อน หรือทดแทนด้วยเครื่องยาอื่น ที่มีคุณภาพด้อยกว่า และ/หรือมีราคาถูกกว่า ในปัจจุบันมีหนังสือและตำรามากมายที่บรรยายถึงลักษณะสมุนไพรชนิดต่างๆ ตัวอย่างของสมุนไพรตามที่ปรากฏในหนังสือนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประกอบเรื่องให้เข้าใจในหลักการได้ง่ายขึ้นเท่านั้น หนังสือและตำราเหล่านั้นหลายเล่ม ได้ให้คำอธิบายรูปพรรณสัณฐานของพืชสมุนไพรในเชิงรายละเอียดอยู่แล้ว เนื่องจากพันธุ์พฤกษชาติที่ใช้เป็นยานั้นมีอยู่เป็นจำนวนมาก หลายชนิดมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันอย่างยิ่ง จำเป็นต้องพิจารณาจำแนกโดยใช้รายละเอียดทางสัณฐานวิทยาเท่านั้น นอกจากนี้ รายละเอียดเหล่านั้นยังจำเป็นสำหรับการตรวจคุณภาพและมาตรฐานของเครื่องยาสมุนไพรด้วย ในที่นี้จักได้ให้คำอธิบายรูปร่างลักษณะของพืชสมุนไพร ตั้งแต่ลักษณะวิสัยและถิ่นที่อยู่ ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล และเมล็ด ตามลำดับ ดังนี้

ลักษณะวิสัยของพืช

คำ “ลักษณะวิสัย” นี้แปลจากภาษาอังกฤษว่า habit หมายถึง ลักษณะธรรมชาติของพืช อาจแบ่งออกเป็น
๑.ไม้ล้มลุก เป็นพืชที่มีลำต้นไม่มีเนื้อไม้ มีอายุไม่นาน อาจแบ่งย่อยตามระยะเวลาการเจริญเติบโตเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่
ก. พืชปีเดียว เป็นพืชที่มีอายุสั้น เมื่อโตเต็มที่จะออกดอกออกผลในเวลา ๑ ปี หรือน้อยกว่านั้น แล้วต้นจะตายไป เช่น ต้นทานตะวัน ต้นข้าว
ข. พืชสองปี พืชกลุ่มนี้ใช้เวลาเจริญเติบโตในปีแรก และออกดอกออกผลในปีที่สอง จากนั้นก็จะตายไป เช่น ต้นผักกาดขาว
ค. พืชหลายปี เป็นพืชล้มลุกที่มีอายุมากกว่า ๒ ปี ลางชนิดเมื่อสิ้นสุดฤดูหนึ่ง ส่วนของต้นที่อยู่เหนือดินจะหิวหรือเฉาตายไป เหลือส่วนที่หยุดอยู่ใต้ดินไว้ ซึ่งจะเจริญขึ้นมาได้อีกเมื่อถึงฤดูกาลต่อมา เช่น ต้นขิง ต้นพุทธรักษา ลางชนิดออกดอกออกผลตั้งแต่ปีแรก บางชนิดออกดอกออกผลในปีที่ ๒ หรือปีต่อมา และสามารถออกดอกต่อไปได้ในอีกหลายปีลางชนิดอาจมีอายุได้หลายปีโดยไม่ออกดอกออกผลเลยก็ได้แต่เมื่อออกดอกออกผลเพียงครั้งเดียวก็จะตายไป
๒. ไม้พุ่ม เป็นพืชที่มีลำต้นหน่อไม้แข็ง แต่มีขนาดไม่ใหญ่โตนัก มักแตกกิ่งก้านบริเวณใกล้โคนต้น ทำให้เกิดเป็นกอ มากขึ้นลำต้นหลักไม่ชัดเจน หรือแตกเป็นลำต้นเล็กๆ จากโคนต้นเดียวกัน ไม้พุ่มลางชนิดเมื่อโตขึ้นระยะหนึ่ง ปลายยอดจะไม่ตั้งขึ้น แต่จะเลื้อยพันต้นไม้อื่น เรียกไม้พุ่มรอเลื้อย เช่น ต้นเฟื่องฟ้า
๓.ไม้ต้น เป็นพืชที่มีลำต้นเนื้อไม้แข็ง มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ มักขึ้นเป็นลำต้นเดี่ยว เห็นส่วนของลำต้นได้ชัดเจน มีอายุนานหลายปี มีทั้งแบบไม่แตกกิ่งและแบบแตกกิ่ง แบบหลังนี้จะแตกกิ่งก้านสาขาเป็นทรงพุ่มสูงจากโคน ต้นขึ้นไป
๔.ไม้เถา หรือไม้เลื้อย เป็นพืชที่มีลำต้นอย่าพลาดพันกับหลัก หรือมีอวัยวะพิเศษที่ช่วยในการยึดเกาะ มีทั้งที่เป็นพืช ไม่มีเนื้อไม้ เช่น ต้นตำลึง ต้นแตงโม หรือ พืชที่มีเนื้อไม้แข็ง เช่น เถากระไดลิง

 

รูปภาพจาก:สมุนไพรท่าพระจันทร์.com,pharm.su.ac.th,blogspot.com