น้ำร้อน

น้ำร้อน

น้ำร้อน เป็นน้ำฝนหรือน้ำสะอาดที่ต้มให้เดือด แล้วยกลง นำมาใช้ขณะที่ยังร้อนอยู่ ถ้าน้ำที่ใช้มีตะกอนขุ่นขาวควรทิ้งให้นอนก้นก่อนที่จะรินมาต้ม การต้มน้ำจนเดือดเป็นการทำละลาย ทำลายเชื้อโรคส่วนใหญ่ที่อาจทำให้เกิดโรคได้ น้ำร้อนช่วยให้ยาเม็ด ยาลูกกลอนหรือยาแท่ง ละลายได้ง่าย ทางความร้อนของน้ำยังอาจช่วยทำลายเชื้อโรคที่อาจมีในยาหรือปนเปื้อนอยู่ในยาด้วยได้ด้วย

น้ำร้อนเป็นน้ำกระสายยาที่ใช้มากในยาไทยโดยจะใช้ โดยจะใช้ช่วย ละลายยาทำให้กินยาได้ง่ายขึ้นในตำราพระโอสถพระนารายณ์ใช้น้ำร้อนเป็นกระสายยาถึง  ๑๖ ขนาน คือขนานที่   ๑, ๕, ๖,๘, ๙,๑๐, ๑๕, ๑๘, ๑๙,๒๐, ๒๔, ๒๖, ๒๘,๒๙,๓๐, และ ๔๑ ส่วนใหญ่จะใช้ละลายยากิน ยกเว้นขนานที่ ๔๑ ยาแก้ไข้ลิ้นหด ใช้น้ำร้อนเป็นสายสำหรับปั้นเป็นยาแท่ง เมื่อใช้ให้ละลายด้วยน้ำมะนาว แล้วเอายานั้นทาลิ้นและนวดที่โคนลิ้น ดังนี้

  • ถ้าแลไข้นั้นให้ลิ้น เจรจามิชัด ให้เอาใบผักคราด ใบแมงลัก พรมมิ ข่าตาแดง สารส้ม เกลือเทศ เสมอภาค น้ำร้อนเป็นกระสาย หมดทำแท่ง ละลายน้ำมะนาว รำหด พิมเสนลง ทาลิ้นแล้วนวดต้นลิ้น ลิ้นหดเจรจามิชัดหายแลฯ

โบราณจัดน้ำเป็น ๑ ในธาตุทั้ง ๔ คือดิน น้ำ ลม ไฟ จนกระทั่งเมื่อปีพ.ศ. ๒๓๒๔ เฮนรี แคเวนดิช ( Henry Cavendish) เป็นคนแรกที่พิสูจน์ว่าน้ำเป็นสารประกอบทางเคมีที่ประกอบด้วยธาตุ ๒ ธาตุ คือไฮโดรเจนและออกซิเจน (มีสูตรเคมีเป็น H2O) น้ำเป็นสารประกอบที่มีอยู่มากที่สุดในโลก และพบในรูปอิสระได้ทั้งในสถานะของเหลว (ตามแม่น้ำ ลำคลอง ทะเล มหาสมุทร และที่เป็นองค์ประกอบในสิ่งมีชีวิต) ของแข็ง (น้ำแข็งตามขั้วโลก หิมะ และน้ำแข็งบนภูเขาสูงๆ) และเป็นไอ (ไอน้ำในบรรยากาศหรือความชื้นในอากาศ) น้ำเป็นของเหลวที่อุณหภูมิปรกติ เมื่อบริสุทธิ์จะไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่มีรส น้ำบริสุทธิ์มีจุดเยือกแข็งที่ ๐° และมีจุดเดือดที่ ๑๐๐ °ซ ที่ความดันบรรยากาศ ๓๖๐ มิลลิเมตร  (เมื่อความดันบรรยากาศต่ำลง เช่น บนภูเขาสูง จุดเดือดของน้ำ ก็จะต่ำลงด้วย) ปรอดน้ำมีความหนาแน่นสูงสุดที่ ๔°ซ และมีคุณสมบัติคายและรับความร้อนได้ ในธรรมชาติไม่มีน้ำบริสุทธิ์ เพราะน้ำเป็นตัวทำละลายที่ดีที่สุด ดังนั้น น้ำในธรรมชาติน้ำที่พบในธรรมชาติจึงเป็นน้ำที่มีสารอื่นๆจำนวนมากละลายปนอยู่ด้วยเสมอ นอกจากนั้น ยังมีสารที่มีอนุภาคเล็กมากแขวนตัวอยู่ด้วย รวมทั้งอาจมีจุลินทรีย์ปะปนอยู่ได้ น้ำธรรมชาติอาจแบ่งได้ตามแหล่งที่มา ดังนี้

๑. น้ำฝน เป็นน้ำธรรมชาติชนิดเดียวเท่านั้นที่สะอาดที่สุด และเป็นน้ำเกือบบริสุทธิ์ สารละลายที่อยู่ในน้ำฝน ได้คือการที่อยู่ในบรรยากาศ ได้แก่ ออกซิเจน ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนชั้นอื่นๆจะมีผลอยู่มากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับสถานที่และสภาวะอากาศที่ฝนตก ตลอดจนเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ดักเก็บน้ำฝน

๒.น้ำในแม่น้ำลำคลอง เป็นน้ําฝนที่ตกลงมา แล้วหลายผ่านผิวดินสู่แม่น้ำลำคลอง ดังนั้นน้ำเหล่านี้จึงละลายเอาแร่ธาตุและสารอินทรีย์ต่างๆ ในดินติดไปด้วย รวมทั้งสารที่ไม่ละลายในน้ำ แต่แขวนตะกอนอยู่ได้ ตลอดจนจุลินทรีย์ต่างๆ

๓.น้ำพุและน้ำบ่อลึก เป็นน้ำที่สะอาดกว่าน้ำในแม่น้ำลำคลอง ที่ไหลผ่านผิวดินลงไปลึกหลายชั้น ผิวดินชั้นต่างๆจึงช่วยกรองบรรดาสารที่มีอนุภาคขนาดเล็กรวมทั้งจุลินทรีย์ต่างๆที่ปะปนอยู่ในน้ำ แต่ประเภทนี้แต่ละประเภทนี้จะมีแร่ธาตุต่างๆจากชั้นดินปะปนอยู่มาก ๔.น้ำทะเล เป็นน้ำที่มีเกลือต่างๆ ละลายอยู่ราวร้อยละ ๓.๖ ในจำนวนนี้ราวละราวร้อยละ ๒.๖ เป็นเกลือแกง (sodium chloride,NaCl) ซึ่งมีรสเค็ม ซึ่งมีรสเค็มนอกนั้นเป็นเกลือโบรไมด์ (bromide) ซัลเฟต (sulphate) คลอไรด์ (chloride) และคาร์บอเนต (carbonate) ของแมกนีเซียม (magnesium) แคลเซียม (calsium) และโพแทสเซียม (potassium)

 

รูปภาพจาก:pixabay.com,wordpress.com,khonphutorn.com