น้ำมูตรโคดำ

น้ำมูตรโคดำ

น้ำมูตรโคดำ หรือมูตรโคดำหรือน้ำปัสสาวะของโคหรือวัวบ้านเพศผู้ ชนิดที่ตัวมีสีดำทั้งตัว วัวบ้าน
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bos taurus Linnaeus
ในวงศ์ Bovidae

ตำราสรรพคุณยาโบราณว่าน้ำมูตรโคดำมีรสเผ็ดร้อน เค็ม ฉุน แก้ปวดร้าวระบม แก้ช้ำใน แก้ผอมเหลือง แก้หืดไอ แก้ลมและโลหิต แก้วาโยธาตุพิการ ในตำราพระโอสถพระนารายณ์มียา ๖ ขนาน ที่ระบุให้ใช้น้ำมูตรโคดำเป็นน้ำกระสายยาคือขนานที่ ๓, ๖, ๑๔, ๑๙,๒๓ และ ๒๔ แต่ยา๕ ขนานนี้ไม่ได้ระบุว่าต้องใช้น้ำมูตรโคดำเท่านั้น โดยให้เลือกเยอะเกิดสายอื่นได้ เช่นยาขนานที่ ๑๔ ยาแก้อาโปธาตุ(ธาตุน้ำ) พิการ ซึ่งระบุว่าจะใช้ให้ใช้น้ำมูตรโคดําก็ได้ หรือจะใช้น้ำผึ้งหลวงก็ดี ดังนี้

อาโปธาตุถอยนั้น ให้ลงท้อง ให้เจ็บท้อง จุกอก เป็นกระสายกล่อน บ้างก็เป็นพรรดึก กลิ้งขึ้นกลิ้งลง ไม่ขัดหัวเหน่า เสียดราวข้าง ผู้หญิงข้างซ้าย ผู้ชายข้างขวา แล้วให้แปรไป ให้ตกบุพโพ โลหิต ให้เสียโทตกหนัก มักให้ไปปัสสาวะวันละ ๒๐-๓๐ เพลา บ้างก็ให้ขัดปวดมิสะดวก บริโภคอาหารก็มิอิ่มได้ ให้ท้องขึ้นท้องพอง ผอมเหลือง ถ้าเกิดแก่บุคคลใด เปนกรรมผู้นั้นแล ท่านให้ประกอบยานี้กินตามบุญ ต้นไม้เท้าแลโรคนั้นผันแปรต่างๆ จะให้ขัดเข่า แลฟองดูให้เย็นเท้านัก ยาสำหรับแค่นั้น ไม่เอาชีล้อม รากหว้านน้ำ เปลือกลูกหลวง น้ำเต้าขม ผลกระดอม เสมอภาค ทำเป็นจุณ ละลายมูตรโคดำก็ได้ น้ำผึ้งรวงก็ได้ กินตามกำลัง กินแก้อาโปธาตุพิการแลฯ

 

รูปภาพจาก:thairath.com,kobalnews.com