น้ำนม

น้ำนม

ในตำราพระโอสถพระนารายณ์ มีตำรับยาที่ระบุให้ใช้น้ำนมเป็นกระสายอยู่ ๕ ขนานคือขนานที่ ๒,๔ และ ๕ แก้เตโชธาตุ(ธาตุไฟ) พิการ;ขนานที่ ๒๔ แก้วาโยธาตุ (ธาตุน้ำ) พิการ และขนานที่ ๒๕ แก้ปถวีธาตุ (ธาตุดิน) พิการ ในจำนวนนี้ทั้งหมดระบุ ให้ใช้นมโคยกเว้นขนานที่ ๒๕ ให้เลือกใช้น้ำนมคนก็ได้น้ำนมโคก็ได้ ดังนี้

  • ยาแก้ปถวีธาตุ ให้เอาใบยางทราย กระเทียม ดีปลี ผลมะตูมอ่อน ผลมะแว้งทั้ง ๒ สค้าน รากผักแผ้ว หว้านน้ำ สมอไทย สัตบุษเทศ เสมอภาค ทำเป็นจุณ ละลายน้ำนมคน น้ำนมโคก็ได้ แก้ปถวีธาตุวิการแลฯน้ำนมคนได้จากเต้านมของมนุษย์เพศหญิงซึ่งเพิ่งคลอดลูกเป็นอาหารสำหรับทารกแรกเกิดจะเป็นอาหารชนิดแรกที่มนุษย์กินมีคุณค่าทางโภชนาการสูงมากและมีภูมิคุ้มกัน

ตำราสรรพคุณ ยาโบราณว่าน้ำนมคนมีรสหวานมัน มีสรรพคุณ บำรุงกำลังเลือดเนื้อ บำรุงเลือดเนื้อ แก้พรรดึก จึงใช้เป็นน้ำกระสายยา ซึ่งนอกจากจะช่วยละลายยาแล้วยังทำให้ผู้ป่วยมีเรี่ยวแรงและกำลังฟื้นจากการป่วยไข้ได้เร็วยิ่งขึ้น

นมเป็นอวัยวะในร่างกายมนุษย์อยู่บริเวณหน้าอกมี๒เต้า เรียกเต้านมในวัยเด็ก นมของทั้งเด็กหญิงและเด็กชายจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันแต่เมื่อเข้าวัยหนุ่มสาวนมของเด็กหนุ่มจะมีเยื่อพังผืดเพิ่มมากขึ้นทำให้เห็นว่าส่งโต้คลื่นเรียก  “นมขึ้นพาน” หรือ “นมแตกพาน” จะไม่เปลี่ยนแปลงไปมากตลอดอายุ ส่วนเด็กสาวเมื่อเริ่มมีประจำเดือนนมจะเจริญขึ้นจนเห็นได้ชัดเนื่องจากฮอร์โมนเพศไปกระตุ้นท่อน้ำนมให้เจริญและแตกกิ่งก้านสาขา และเยื่อพังผืดก็เพิ่มมากขึ้นเมื่อเป็นวัย สาวเต็มวัย ต่อมและท่อน้ำนม และเยื่อผังผืด จะเจริญและเพิ่มจำนวนขึ้น ไขมันก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วย ในระยะนี้จะเห็นนมโตเป็นเป้าอยู่บนหน้าอกทั้งด้านหน้าและด้านข้าง เต้านมทั้งสองข้างมากมีขนาดไม่เท่ากัน ข้างขวามักใหญ่กว่าและอยู่ต่ำกว่าข้างซ้าย

ในระยะตั้งครรภ์ ฮอร์โมนเพศจะกระตุ้นให้ต่อมและท่อน้ำนมเจริญมากยิ่งขึ้น หัวนมและบริเวณรอบรอบจะมีสีคล้ำขึ้น ภายหลังการคลอด จะมีฮอร์โมนกระตุ้นต่อมน้ำนมให้หลั่งน้ำนม ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่ได้จากเลือดของมารดา

การสร้างน้ำนม จะเริ่มขึ้นหลังคลอด ๓-๔ วัน และจะคงอยู่หน้าได้นานหลายเดือนโดยเฉพาะในรายที่ทารกดูดนมแม่ เมื่อทารกหย่านมแล้ว ต่อมและท่อน้ำนมจะเล็กลง แต่ขณะเต้านมยัง โตกว่าตอนก่อนตั้งครรภ์ และเมื่อย่างเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน เต้านมก็จะเริ่มมีการเสื่อม ทำให้ต่อมและท่อน้ำนมตลอดจนเต้านมมีขนาดเล็กลง

น้ำนมโค ได้จากเต้านมของโคเพศเมีย ที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ โคหรือวัวเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Bos taurus (Linnaeus) ในวงศ์  Bovidae ตำราสรรพคุณยาโบราณว่าน้ำนมโคมีรสหวาน มัน เย็น มีสรรพคุณปิดธาตุ แก้โรคในอก บำรุงกำลังและเลือดเนื้อ เจริญไฟธาตุ ยาขนาน ที่ ๕ ในตำราพระโอสถพระนารายณ์ อันเป็นยาแก้เตโชธาตุ (ธาตุไฟ)พิการนั้น ให้ใช้น้ำร้อนหรือน้ำนมโคเป็นน้ำกระสาย ซึ่งนอกจากจะช่วยละลายยาให้กินง่ายแล้ว ยังช่วยเสริมฤทธิ์เจริญไฟธาตุของ ตัวอย่างอื่นได้ ดังนี้

  • ยาแก้เตโชธาตุ ให้เอารากผักแผ้วแดง โกฏเขมา ชะเอมไท ลูกมะขามป้อม รากไคร้ต้น ว่านเปราะป่า รากสวาดิ หญ้ารังกา เสมอภาค ทำเป็นจุณ ละลายน้ำร้อนก็ได้ น้ำนมโคก็ได้ กินตามควร แก้เตโชธาตุอันพิการ หายแลฯ

คำว่า “โค” เป็นคำในภาษาบาลี หมายถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ปัจจุบันเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อกินนมและเนื้อสัตว์ชนิดนี้ไทยเคยเรียก งัว มาแต่โบราณ คำ “งัว” เป็นคำไทยแท้ แต่ปัจจุบันเพี้ยนมาเป็น “วัว” แต่คำ “โค” นี้ยังอาจหมายถึงดวงอาทิตย์ เช่น ในคำ “โคจร” ซึ่งแปลว่า ทางเดินของดวงอาทิตย์วัวบ้านของไทยมีบรรพบุรุษเป็นวัวป่า หรือวัวออรอคส์ ซึ่งปัจจุบันสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว วัวป่าที่ยังคงพบในบ้านเรา คือวัวแดง อันมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Bos javanicus d’Alton เข้าใจว่าน่าจะสืบเชื้อสายมาจากวัว ออรอคส์ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ต่อมามีผู้นำมาเลี้ยงและพัฒนามาเป็นหมู่บ้านพันธุ์ใหม่ของประเทศไทย ทำให้รูปร่างและสีสันของวัวบ้านเหมือนกับวัวแดงมาก แต่วัวแดงตัวใหญ่กว่าและสูงกว่า วัวแดงมีความสูงที่ไหล่ราว ๑.๗๐ เมตรหรือขวา นั้นเขายาวราว ๗๐ เซนติเมตรมีสีน้ำตาลแกมแดงเหมือนวัวบ้านแต่ผู้เมื่อมีอายุมากๆอาจจะเปลี่ยนไปแสดงเป็นสัตว์ที่ชอบอยู่เป็นฝูงฝูงหนึ่งมีราว ๒๐-๓๕ ตัว ส่วนมากมักมีตัวเมียแก่ๆแก่เป็นตัวนำฝูง แต่ละฝูงมักมีตัวผู้เพียงตัวเดียว คอยทำหน้าที่ผสมพันธุ์ เมื่อตัวเมียติดสัด มีวัวพันธุ์หนึ่งนำเข้ามาจากต่างประเทศ เลี้ยงเป็นสัตวอาสิน (economic animal) แขกเรียกโคพราหมณ์ ฝรั่งเขียนเป็น Brahman cow ชาวฮินดูถือว่าวัวพวกนี้เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์(holy cow) เพราะเป็นพาหนะของพระอิศวร เมื่อเลี้ยงในเมืองไทย นักวิชาการที่ไม่รู้จักถึงเรียกทักษะเป็นวัวบราห์มัน

รูปภาพจาก:cosmenet.in.th,enfababy.com,readhowl.com