ตำราพระโอสรพระนารายณ์

ตำราพระโอสรพระนารายณ์

เมื่อมองกลับไปในอดีตเพื่อสืบหารากเหง้าและเรื่องราวความเป็นมาของความรู้เกี่ยวกับการแพทย์และเภสัชกรรมไทยนั้น อาจกล่าวได้ว่า แทบไม่มีหลักฐานลายลักษณ์อักษร ทั้งที่เป็นจารึก ตำรา หรือเอกสารโบราณเกี่ยวกับการแพทย์และเภสัชกรรมไทย ที่เก่าไปกว่าสมัยอยุธยาตอนต้น หรือก่อนพุทศักราช ๑๙๙๘ หลงเหลือตกทอดมาเลย

จนถึงพุทธศักราช ๑๙๙๘ เมื่อมีการตรา กฎหมายตราสามดวง จึงมีปรากฎเป็นหลักฐานว่า ในราชสำนักสยามสมัยนั้น ได้มีการแบ่งหน้าที่ของแพทย์ตามความชำนาญเฉพาะทางแล้ว โดยแยกกันปฏิบัติงานในกรมต่างๆหลายกรม เช่น กรมแพทยา กรมหมอยา กรมหมอกุมาร กรมหมอนวด กรมหมอยาตา กรมหมออวรรณโรค และโรงพระโอสถ โดยมีจางวางแพทยาโรงพระโอสถ ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลโรงพระโอสถ เป็นผู้มีศักดินาสูงสุดในบรรดาฝ่ายข้าราชการฝ่ายหมอหลวง แสดงให้เห็นบทบาทสำคัญของแพทย์ปรุงยา ซึ่งคงทำหน้าที่เสาะหา รวบรวม และดูแลรักษาเครื่องยาสมุนไพรต่างๆรวมทั้งปรุงยาหลวงและประสานงานกับหมอในกรมอื่นๆด้วย

ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ได้มีหลักฐานสำคัญชิ้นหนึ่งซึ่งจัดเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ชิ้นแรก ที่บันทึกภูมิปัญญาไทย ในการใช้สมันไพรอย่างเป็นระบบ  คือตำราพระโอสถพระนารายณ์ ซึ่งเดิมคงจารึกไว้บนใบลาน ต่อมามีการคัดลอกลงบนสมุดเขียน  โดยอาจแบ่งเนื้อหาได้เป็น๓ส่วน คือส่วนที่หนึ่ง ว่าด้วยความผิดปรกติ ของธาตุทั้งสี่และยาแก้ ส่วนที่สอง ว่าด้วยตำรับยาที่มีชื่อเรียก และส่วนที่สาม ว่าด้วยตำรายาน้ำมันและยาขี้ผึ้ง มีตำราบันทึกรวมทั้งหมดไม่น้อยกว่า ๘๑ ตำรา  บางตำรับระบุชื่อแพทย์ผู้ประกอบยา ซึ่งมีทั้งหมอไทย หมอจีน หมอแขก และหมอฝรั่ง ตลอดจนวันเดือนปีที่ปรุงยานั้นทูลเกล้าฯ ถวายด้วยความสำคัญของตำราพระโอสถพระนารายณ์นั้น นอกจากเป็นตำราการแพทย์และเภสัชกรรมไทยที่มีคุณค่าทางวรรณกรรมแล้ว ยังเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ทีสำคัญชิ้นหนึ่ง อย่างน้อยก็เป็นเอกสารชั้นต้น ที่ให้ภาพของอาการเจ็บป่วย และโรคที่เกิดในราชสำนัก และประชาชนทั่วไปในสยามประเทศขณะนั้นได้เป็นอย่างดี

ตำราฉบับนี้น่าจะมีผู้รวบรวม รวบขึ้นไว้ภายหลังรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  (ครองราชย์ช่วงปี พ.ศ. ๒๑๘๘ -๒๒๓๑)  คือรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ (ครองราชย์ในช่วงปี พ.ศ. ๒๒๔๖-๒๒๕๑) หรือในรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ (ครองราชย์ในช่วงปีพ.ศ.๒๒๕๑-๒๒๗๔) หรืออย่างช้าก็ไม่ควรเกิน รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (ครองราชย์ในช่วงปี พ.ศ.๑๑๗๕-๒๓๐๑) ส่วนผู้รวบรวมอาจดป็นคณะแพทย์หลวง หรือมิเช่นนั้นก็ต้องเป็นบุคคลที่สามารถคัดลอกปูมโหรหรือเอกสารสำคัญของพระราชสำนักได้

 ตำราพระโอสถพระนารายณ์ได้รับการตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่ ในวงกว้างเป็นครั้งแรก เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๖๐  ฏชโดยสมเด็จพระศรีพัชริทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชนนีพันปีหลวง ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้จัดพิมพ์เพื่อพระราชทานในงานพระราชทานเพลิงศพพระยาแพทย์พงษาพิสุทธาธิบดี (นาก โรจนแพทย์)   โดนจัดพิมพ์จากต้นฉบับใบลาน๑ผูก สมบัติเดิมของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ซึ่งทรงเป็นแพทย์หลวงในราชสำนักตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงกำกับกรมหมอหลวงต่อเนื่อง จนมาถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงมีบทบาทสำคัญมากในการพัฒนาการแพทย์แผนไทยให้ทันสมัยขึ้น โดยการเอาส่วนดีของการแพทย์แบบฝรั่งมาประยุกต์ใช้กับแพทย์แผนไทยเดิม

 หลังการจัดพิมพ์ครั้งแรกแล้ว ตำราพระโอสถพระนารายณ์ก็ได้รับการจัดพิมพ์ต่อเนื่องมาอีกหลายครั้งจนถึงปัจจุบัน เช่นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒ โครงการเผยแพร่เอกลักษณ์ของไทยฯ กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดพิมพ์ตำราพระโอสถพระนารายณ์ขึ้นเป็นครั้งที่ ๙ โดยพิมพ์รวมกับตำรายาศิลาจารึกวัดพระราชโอรส   ฉบับของ นายแพทย์ สำราญ วังศพ่าห์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๓  พิมพ์เป็นครั้งที่ ๑๑ เพื่อแจกในงานพระราชทานเพลิงศพนางไขศรี  ทองธิวโดยจัดพิมพ์รวมกับ ตำราสรรพคุณยาพระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงวงศาธิราชสนิท  ตำรายาพิเศษ พระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์   และตำรายาพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ ซึ่งเป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท   และสืบทอดตำแหน่งกำกับกรมหมอหลวงจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว    ล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๔ เภสัชกร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชยันต์ พิเชียรสุนทร ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต และเภสัชกร ศาสตาจารย์พิเศษ ดร.วิเชียร จีรวงศ์ ได้ร่วมกันชำระ ตำราพระโอสถพระนารายณ์ขึ้นใหม่ จากต้นฉบับเดิมหลายแหล่ง  รวมทั้งได้จัดทำคำอธิบายเนื้อหาต่างๆ ที่ปรากฎอยู่ในตำราโบราณฉบับนี้อย่างละเอียดเป็นครั้งแรก จัดพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ คำอธิบายตำราพระโอสถพระนารายณ์ ฉบับเฉลิมพระเกียรติ ๗๒ พรรษามหาราชา ๕ ธันวาคม พุ?ธศักราช ๒๕๔๒พิมพ์โดยสำนักพิมพ์อมรรินทร์มูลนิธิภูมิปัญญา ในปัจจุบันมีการสืบทอดตำราพระโอสถพระนารายณ์ใช้ต่อกันมาได้อย่างเกือบสมบูรณ์ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยาสมุนไพรที่ปรากฏอยู่ในตำรายาทั้งของไทยเราเองของจีนและของเทศที่ยังมีใช้กันอยู่โรคที่เคยมีการบันทึกไว้ก็ยังเป็นกันอยู่ รวมทั้งตำรายาหลายขนานก็ยังปรุงใช้กันอยู่ ในหมู่หมอแผนไทยสืบมา จะมีคาดเคลื่อนบ้างก็ในการคัดลอกชื่อสมุนไพร ชื่อโรคอาการของโรคหรือศัพท์บางคำที่ผิดเพี้ยนไปว่างเท่านั้น เช่นเดียวกับการสืบทอดคัมภีร์มหาโชติรัต อันเป็นตำราโรคสตรีและคัมภีร์โรคนิทานมันเป็นตำราเกี่ยวกับเรื่องราวเหตุแห่งโรคซึ่งทั้งสองฉบับเป็นตำราอ้างอิงอยู่ในตำรา พระโอสถพระนารายณ์ และยังคงใช้สืบต่อกันมาเป็นแม่แบบขอตำราแพทย์แผนไทย

 

รูปภาพจาก:uamulet.com,ookbee.com