สมุนไพรชุมเห็ดเทศ

สมุนไพรชุมเห็ดเทศ

ชื่อพื้นเมืองอื่น ขี้คาก, ลับมืนหลวง, หมากกะลิงเทศ (ภาคเหนือ);  ชุมเห็ดใหญ่, ตะสีพอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน);  ชุมเห็ดเทศ (ภาคกลาง, ภาคใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Senna alata (L.) Roxb.
ชื่อพ้อง Cassia alata L.
ชื่อวงศ์-อนุวงศ์ LEGUMINOSAE – CAESALPINIOIDEAE
ชื่อสามัญ Candelabra bush , Ringworm bush.

 ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสต์

ไม้พุ่ม (ExS) ขนาดกลาง สูงประมาณ 1-3 เมตร แตกแขนงมาก ก้านใบยาว ในก้านหนึ่งนั้นจะมีใบแตกออกเป็น 2 ทาง ลักษณะคล้ายกับใบมะยมแตะจะโตและยาวกว่าใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ก้านใบแข็ง ตั้งฉากกับกิ่ง ใบย่อยเรียงตัวเป็นคู่ๆ 8-20 คู่ และอยู่ในระนาบเดียวกัน ลักษณะใบรูปไข่ขอบขนาน กว้าง 4-6 ซม. ยาว 7-12 ซม. ปลายใบมนหรือรอยเว้าตอนปลาย ขอบใบเรียบสีแดง ฐานใบมนและไม่เท่ากันทั้ง 2 ด้าน ก้านใบย่อยสั้นมากดอก ออกดอกช่อใหญ่ ชูตั้งขึ้นไปตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่งในแต่ละช่อจะประกอบด้วยดอกหลายดอก ดอกมีสีเหลือง ดอกตูมคล้ายดอกข่า และเมื่อดอกบานจะมีสีเหลืองเข้ม กลีบรองกลีบดอกมี 5 กลีบ เป็นรูปขอบขนานสีเขียว ตรงปลายจะแหลม ก้านดอกสั้นและมีลายเส้นเห็นชัดเจน ผล จะติดผลเมื่อดอกโรยแล้ว ลัดษณะผลเป็นฝัก ไม่มีขน มีครีบ คล้ายถั่วพู ฝักอ่อนมีสีเขียว ฝักแก่มีสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ และเมล็ดมีสีดำแบนลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ผิวนอกขรุขระ

นิเวศวิทยา
มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเขตร้อน สำหรับประเทศไทยพบขึ้นทั่วไปทั้งพื้นราบและเขาสูง เป็นไม้ที่ขึ้นง่ายและชอบแดดกลางแจ้ง ต้องการความชื้นสูง

การปลูกและขยายพันธุ์
สามารถปลูกได้ทุกสภาพ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ขยายพันธ์ุด้วยการเพาะเมล็ดจากฝักแก่

ส่วนที่ใช้ รส และสรรพคคุณ
ต้น  รสเบื่อเอียน ใช้ขับพยาธิในท้อง

ราก รสเบื่อเอียน แก้กระษัยเส้น ทำให้หัวใจปกติ อก้ท้องผูก ขับปัสสาวะ
ใบ  รสเบื่อเอียน แก้กลากเกลื้อน ผิวหนังอักเสบเป็นผื่น เป็นยาระบาย
ดอกและเมล็ด  รสเอียน ใช้เป็นยาระบาย
ฝัก  รสเอียนเบื่อ แก้พยาธิ เป็นยาระบาย ขับพยาธิตัวตืด พยาธิไส้เดือน

วิธีใช้และปริมาณที่ใช้
1. เป็นยาระบาย อมบ้วนปาก โดยใช้ใบสด 20-30 กรัม ล้างให้สะอาด ต้มในน้ำ 1 ลิตร ประมาณ 15 นาที กรองเอาน้ำดื่ม ครั้งละ 1 แก้ว วันละ 2 เวลา เช้า-เย็น หรือ ใช้ใบแห้ง 5 กรัม ชงเป็นน้ำชาดื่ม ก่อนอาหาร เช้า-เย็น  2. รักษาอาการท้องผูก โดยใช้ดอกสด 2-3 ช่อ ต้มรับประทานหรือใช้ใบสด 12 ใบ หั่นตากแห้งใช้ต้มหรือชงน้ำดื่มหรือใบแห้งบดเป็นผงปั้นกับน้ำผึ้งเป็นยาลูกกลอนขนาดปลายนิ้วก้อยรับประทานก่อนนอนหรือเมื่อมีอาการ ครั้งละ 3 เม็ด

3. รักษาโรคกลาก โดยใช้ใบสดขยี้หรือโขลกให้ละเอียด เติมน้ำเล็กน้อย หรือใช้ใบกับหัวกระเทียมเท่ากันผสวมปูนแดงเล็กน้อยโขลกผสมกัน นำมาทาบริเวณที่เป็นกลาก โดยขูดผิวให้แดงก่อน ทาบ่อยๆ จนหาย หลังจากนั้นทาติดต่อกันอีก 7 วัน
4. รักษาฝีและแผลพุพอง โดยใช้ใบสดและก้านสด 1 กำมือ ต้มกับน้ำพอท่วมยา แล้วนำมาเคี่ยวให้เหลือ 1 ใน 3 นำมาชะล้างบริเวณที่เป็นวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น กรณีที่เป็นมากใช้ใบและก้าน 10 กำมือ ต้มอาบ

ข้อควรทราบ

  • สารสกัดจากใบและฝักจะมี anthoquinone glycosides ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ถ่ายและฆ่าเชื้อโรค

 

รูปภาพจาก:wordpress.com,blogspot.com,สมุนไพร

รายการล่าสุดที่คุณดู