งูเหลือม
งูเหลือม
งูเหลือมเป็นงูไม่มีพิษมีขนาดใหญ่และยาวที่สุดในโลก
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า python retculatus (schneider)
จัดอยู่ในวงศ์ Boidae
วงศ์ย่อย pythoninae
มีชื่อสามัญว่า reticulated python หรือ regal python
ชีววิทยาของงูเหลือม
งูเหลือมมีลำดับตัวยาว หนา อาจยาวได้ถึง ๑๐ เมตร ตอนกลางลำตัวป่องออกมีเกล็ดปกคลุม โดยทั่วไปเกล็ดมีสีเหลืองหรือสีเหลืองปนสีน้ำตาล มีลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ มีเกล็ดสีดำ มีเกล็ดสีเหลืองเป็นขอบใน และมี เกล็ดสีน้ำตาลปนเทาอยู่ภายในอีกทีหนึ่ง ขอบนอกของเกล็ดมีสีดำ มีเกล็ดสีเหลืองทองสดกว่าบริเวณอื่น บริเวณด้านในข้างลำตัวมีแถบเกล็ดสีดำ ภายในมีเกล็ดสีขาวเป็นแถบ เกล็ดข้างลำตัว บริเวณที่ติด กับเกร็ด ท้อง มีสีดำสลับกับขาวไม่เป็นระเบียบ เกล็ดท้อง สีนวลหรือสีเหลืองอ่อน บริเวณหัวมีสีเหลืองปนน้ำตาล มีเส้นสีดำเล็กๆพาดผ่านกลางหัว ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของงูเหลือม ที่ใช้จำแนก จากงูชนิดเดียวกันชนิดอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกัน ( เช่นงูหลาม) นัยน์ตาสีเหลืองหรือสีเหลืองเข้ม มีแถบสีดำเล็กๆ ภาพถ่านจากตาถึงมุมปาก งูเหลือมอาจ
งูเหลือม
วางขายได้ถึงคราวละ๑๒๔ฟอง แม่งูคอยดูแลจนไข่ฟักเป็นตัว ลูกงูเหลือมที่ฟักออกมาใหม่ยาวราว ๕๕ เซนติเมตร
งูเหลือมพบได้ในทุกภาคของประเทศ ทั้งในป่าดิบและป่าเสื่อมโทรม มักหากินบนพื้นดิน โดยการดักรอเหยื่อ เมื่อเหยื่อผ่านเข้ามาในระยะใกล้ก็จะฉกกัด และม้วนตัวรัดเหยื่อจนตาย แล้วจึงกลืนกินเหยื่อที่ตายแล้ว
งูหลาม
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า python molunis bivittatus schiegel เป็นงูที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ ๓ ของโลก รองจากงูเหลือม และงูแอนะคอนด้า | anaconda ชื่อวิทยาศาสตร์ Eunectes murinus (Linnaeus) ในวงศ์ Boidel พบได้ทั่วไปในป่าโปร่ง ทุ่งหญ้า ยกเว้นทางภาคใต้ (มีเฉพาะชุมพร)งูนี้ มีลักษณะ อ้วน หนา ลำตัวสั้นกว่างูเหลือมมาก ยาวเต็มที่ไม่เกิน ๗ เมตร มีลวดลายแตกต่างจากงูเหลือม โดยที่ลำดับตัวมีสีเหลืองหรือสีเหลืองอมสีน้ำตาลและ มีแผลสีน้ำตาลเข้มขนาดใหญ่ รูปร่างเป็นเหลี่ยมไม่แน่นอน เกล็ดท้องสีขาวหรือสีนวล จุดเด่นอยู่ที่ลวดลายบริเวณหัว ซึ่งมีลาย3สีน้ำตาลเข้ม เป็นรูปลูกศรอยู่กลางหัว ด้านข้างหัวมีแถบสีน้ำตาลเข้มเช่นเดียวกัน ในตามีสีน้ำตาลเข้ม งูหลามวางไข่คราวละ ๓๐-๕๐ ฟอง แม่งู คอยดูแลไข่โดยใช้ลำตัวออกรอบ ลูกงูหลามที่ฟักออกมามีความยาว ราว ๕๐- ๘๐ เซนติเมตร งูหลามอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า งูหลามปากเป็ด (blood python) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า python curtus schiegel เป็นงูที่มีขนาดเล็กที่สุดในวงศ์งูเหลือม พบในป่าดงดิบบริเวณริมน้ำ เนื่องจากเป็นงูที่ชอบน้ำว่ายน้ำได้ มักพบงูชนิดนี้ในน้ำ ซุกตัวอยู่ตามโคลนหรือตามพืชน้ำเพื่อดักรอเหยื่อ พบเฉพาะภาคใต้ของประเทศไทย ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ลงไป งูนี้มีความยาวเต็มตัวที่ราว ๒.๕ -๓ เมตร รูปร่างสั้นและหนากว่าชนิดอื่น หัวมีขนาดค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับลำตัว พื้นลำตัวสีน้ำตาลอมสีส้มจนถึงสีแดงคล้ำ สีจะเข้มที่สุดทางด้านบนลำตัว ด้านข้างมีสีอ่อนกว่าด้านบนลำตัวมีแถบสีน้ำตาลเหลืองหรือสีน้ำตาล ยาวบ้างสั้นบ้างไม่แน่นอนกระจายตามสันหลัง ด้านข้างลำตัวมีเกล็ดสีขาว หรือสีนวลเรียงกันแบบสลับฟันปลา ไม่เป็นระเบียบ ด้านล่างของเส้นนี้มีเกร็ดสีดำ ส่วนหัวมีสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลเข้ม มีเส้นสีเข้มเล็กๆ ลากผ่าน หัวคล้ายงูเหลือม งูหลามปากเป็ดวางไข่คราวละ ๑๐-๑๕ ฟอง ลูกงูที่ฟักออกมาจากไข่ใหม่ๆ มีความยาวราว ๓๕ เซนติเมตร
ประโยชน์ทางยา
แพทย์แผนไทยใช้ดีงูเหลือม กระดูกงูเหลือมและน้ำมันงูเหลือมเป็นเครื่องยาในตำรับยาหลายขนาน ดีงูเหลือมเป็นเครื่องยาอย่างหนึ่งที่ใช้มากในยาไทยใช้ทั้งแทรก เป็นกระสายยาและเป็นเครื่องยา ได้จากถุงน้ำดีของงูเหลือมนำมาผึ่งให้แห้งสนิท ตำราสรรพคุณยาโบราณว่า ช่วยให้ตัวยา แล่น เร็ว ดับพิษ ตานซางในเด็ก ใช้ฝนกับยาหยอดตา แก้ตาแฉะตามัวตาฟางตาแดงและแก้ปวดตาได้ คัมภีร์ฉันทศาสตร์อันเป็นตำราแพทย์ที่เรียบเรียงและแต่งลางส่วน โดยพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบุรีตอนนี้กล่าวถึงไข้ป่วง๘ ประการและยาบำบัด มีเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้ดีงูเหลือมเป็นกระสายยาดังนี้ จะอภิปรายในเรื่องรส เปรี้ยวปรากฏเคยสำเหนียก ส้มมะขามเปียก ฝักส้มป่อย เปรี้ยวอร่อยน้ำส้มซ่า ขมธรรมดาบอระเพ็ด กระดอม ขมเป็นจอม ดีงูเหลือม เผ็ดพอเอื้อม ขิงดีปลี ภิมเสนมีให้ใส่แซก อนึ่งเค็มแปลกนอกจาก เกลือ รู้ไว้เผื่อแก้ไม่หยุดมุตร์มนุษย์เปลือกลำภู สองสิ่งรู้เถิดเค็มกร่อยอ่านบ่อยๆให้จำได้ จะได้ใช้แซก จูงยาในตำราป่วง เป็ด ประการตามคัมภีร์โบราณซึ่งท่านแต่ก่อนกล่าวเอย ภาพคัมภีร์ปฐมจินดาร์ อันเป็นตำราแม่บทของแพทย์แผนไทยที่ว่าด้วยแม่และเด็กให้ยาหลายขนานที่ใช้ดีงูเหลือม มีอยู่ขนานหนึ่งที่ใช้ดีงูเหลือมเป็นเครื่องยาด้วยดังนี้ ยาทาหละ ขนานนี้ท่านให้เอา ชาดหรคุณ ๑ พิมเสน ๑ ใบนมจิตร์ ๑ ใบมะระ ๑ ใบแมลงสาบ ๑ ดีงูเหลือม รวมยา ๖ สิ่งนี้เอาส่วนเท่ากันตามเป็นผงทำแท่งไว้เอาเกลือรำหัดทาหละแลยอดทราง ที่ขึ้นลิ้นนั้นหายดีนักกระดูกงูเหลือมตำราสรรพคุณ ยาโบราณว่ากระดูกงูเหลือมมีรสเย็น เมาเบื่อมีสรรพคุณดับพิษกาฬ แก้เมื่อยแก้ร้อนใน กระสับกระส่ายใช้เป็นเครื่องยาในไทยหลายขนาน เช่นยาขนานหนึ่งในพระคัมภีร์ไกษย มีบันทึกไว้ว่า ยาแก้ลมไกษย เอาหินปูน 1 กระดูกงูเหลือม 1 หอยกาบเผา 1 ละลายเหล้ากิน ถ้ามิฟังยานี้ แล้ว ก็เป็นกรรมของผู้นั้นตายแลอย่าสนเท่ห์เลย
๓. น้ำมันงูเหลือมเตรียมไว้โดยการเอาไปเปลวมันในตัวงูเหลือมใส่ขวดตากแดดจัดจัด จนเปลวมันละลายใส่เกลือไว้ก้นขวดเล็กน้อยเพื่อการเหม็นเน่าแพทย์แผนไทยว่าน้ำมันงูเหลือมมีรสร้อน ใช้ทายาแก้เคล็ด ขัดยอกแรงรอบฉายคาดหัวนวดเพื่อให้เส้นเอ็นอ่อนและหย่อนได้ ในคัมภีร์ชวดารให้ยา 2 ๒ขนานที่เข้า “น้ำมันงูเหลือม” เป็นเครื่องยาด้วย ขนานหนึ่งมีบันทึกไว้ดังนี้ ลมจำพวกหนึ่งเข้าในไส้ใหญ่ไส้น้อย มัดให้ช่างมือชักเท้าแขนงอจะเปิบเข้าก็มิได้ จะจับสิ่งอันใดก็มิได้สมมติเรียกว่าลงตะคริว เอาน้ำมันหมู ๑ บาท หัวดองดึง ๑บาท พริกไทย ๒๐ บาทใส่หม้อฝังไว้ใต้ดิน ๓ วันแล้วเอาขึ้นหุงให้คงแต่น้ำมัน จึงเอาการบูร ๑ พิมเสน ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑ น้ำมันงูเหลือม ๑ ใส่ลงทา ผึ่งแดด สำหรับรมเท้าตาย หายแล นอกจากนั้นหนังงูเหลือมที่ฟอกดีแล้วใช้ทำรองเท้าเข็มขัดกระเป๋า เนื้องูเหลือมกินได้คนจีนชอบกินแต่หากินยากและมีราคาแพง
รูปภาพจาก:77jowo.com,sites.google.com