สมุนไพรคำป่า

สมุนไพรคำป่า

คำป่า Mallotus philippensis (Lam.) Muell. Arg.
บางถิ่นเรียกว่า คำป่า คำแดง คำแสด ทองทวย มะคาย แสด (กลาง) กายขัดหิน ขี้เนื้อ (เชียงใหม่) กือบอ ซาบอเส่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ขางปอย ซาดป่า (นครพนม) ขี้เต่า (สุราษฎร์ธานี) ทองขาว (เลย) แทงทวย (กลาง ราชบุรี) พลับพลาขี้เต่า (นครศรีธรรมราช) พลากวางใบใหญ่ (ตรัง) มะกายคัด (เหนือ) มินยะมายา (มลายู-ยะลา) มือราแก้ปูเต๊ะ (มลายู-นราธิวาส) ลายตัวผู้ (จันทบุรี) สากกะเบือ ละว้า (พิษณุโลก สุโขทัย).

ไม้พุ่ม หรือ ไม้ต้น -> สูงได้ 5-15 ม. ยอดอ่อนมีต่อมสีแดงเล็ก ๆ ตามกิ่งมีขนสีน้ำตาล.
ใบ -> เดี่ยวเรียงแบบบันไดเวียนห่าง ๆ รูปรี หรือรูปไข่ กว้าง 3-10 ซม. ยาว 6-10 ซม. ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ หรือ หยักเล็กน้อย โคนใบแหลม มน หรือ ตัด ที่โคนสุดมีต่อม 1 คู่ เส้นใบคู่ล่างออกจากโคนใบ ขึ้นสูงเหนือกึ่งกลางใบ เส้นใบย่อยเรียงเป็นขั้นบันได เส้นนูน เห็นชัดทางด้านล่าง สีเขียวอมเหลือง ด้านล่างสีขาวนวล ก้านใบยาว 2-7 ซม. มีขนสีน้ำตาลอ่อนปกคลุม.
ดอก -> ออกเป็นช่อ เป็นกระจุก มีขนสั้น ๆ ปกคลุม ช่อยาว 2.5-16 ซม. ก้านดอกมีขนรูปดาว. ดอกเพศผู้ ก้านดอกยาว 2-3.5 มม. กลีบดอกมี 3-4 กลีบ ยาว 2.5-3 มม. เกสรผู้ 23-32 อัน. ดอกเพศเมีย ก้านดอกยาว 0.5-1 มม. กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนกลีบติดกันเล็กน้อย ยาว 1-2 มม. รังไข่มีขนรูปดาว ภายในมี 3 ช่อง ปลายท่อรังไข่รูปยาว ๆ 2-4.5 มม.
ผล -> รูปกลมแป้น มีพูตื้น ๆ 3 พู มีต่อมสีแดงปกคลุม, ภายในมีขน กว้าง 7.5-10 มม. ยาว 5.7 มม. เมล็ด รูปไข่ค่อนข้างกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 มม.


นิเวศน์วิทยา

ขึ้นทั่วไปในป่าดงดิบ, ป่าละเมาะ และตามที่โล่งแจ้งพื้นดินปนหิน เหนือระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,100 ม. บางแห่งปลูกไว้เพื่อทำยา.


สรรพคุณ

ราก ใบ และ ขนผล -> ตำรวมกับน้ำผึ้ง, ทาแก้สัตว์มีพิษกัดต่อย, ทาแก้ปวดแผลอักเสบ, แก้สิว และลอดฝ้า
ผล น้ำต้มผล และใบ -> กินแก้หวัด ผงจากขนผล และต่อมสีแดง, ใช้เป็นยาระบาย ขับพยาธิตัวตืดที่เป็นกับสัตว์เลี้ยง
เมล็ด -> ทำเป็นผง ใช้พอกแผล

 

รูปภาพจาก:chauthiduniya.com,qsbg.org,สมุนไพร