สมุนไพรตาตุ่มทะเล

สมุนไพรตาตุ่มทะเล

ตาตุ่มทะเล Excoecaria agallocha Linn.
บางถิ่นเรียก ตาตุ่มทะเล ตาตุ่ม (กลาง); บูตอ (มลายู-ปัตตานี).

ไม้ต้น -> ขนาดกลาง สูง 8-15 ม. เปลือกสีเทาเป็นมัน.
ใบ -> เดี่ยว เรียงสลับกัน รูปไข่ หรือ รี กว้าง 2-5 ซม. ยาว 3-9 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบสอบ หรือ มน. ขอบใบเรียบ หรือ หยักเล็กน้อย. ก้านใบยาว 1-2 ซม.
ดอก -> ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ดอกเพศผู้ และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน. ดอกเพศผู้ ออกเป็นช่อยาว 3-7 ซม. กลีบรองกลีบดอก 3 กลีบ เกสรผู้ 3 อัน ไม่ติดกัน อับเรณูมี 2 ช่อง กลม. ดอกเพศเมีย ออกเป็นช่อยาว 1.5-3.5 ซม. กลีบรองกลีบดอกโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 3 แฉก รังไข่มี 3 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 1 หน่วย.
ผล -> รูปกลมแป้น มี 3 พู กว้างประมาณ 6 มม. ยาวประมาณ 4 มม. เมล็ด ค่อนข้างกลม.


นิเวศน์วิทยา

ขึ้นตามป่าชายเลน.


สรรพคุณ

ราก -> ตำ หรือ ฝน ประสมกับขิง เป็นยาพอก หรือ ทา แก้อาการบวมตามมือและเท้า
ต้น -> ยางมีฤทธิ์กัดทำลาย ทำให้เกิดอาการอักเสบ ถ้าเข้าตาจะทำให้ปวดอักเสบมาก ถึงทำให้ตาบอดได้ แก่นเรียกว่ากระลำพัก (ตาตุ่มทะเล) เมื่อเผาไฟจะมีกลิ่นหอมาก ใช้เข้าเครื่องยา เป็นยาขับลม ฟอกเลือด ขับระดู ระบาย และขับเสมหะ ถ้าเอาไม้ชนิดนี้ไปปักเลี้ยงหอยแมลงภู่ คนที่กินหอยที่เกาะไม้นี้ จะทำให้ท้องเดินได้  ควันที่เกิดจากการเผาต้น ใช้รมแก้โรคเรื้อน  ยางต้นต้มรวมกับน้ำมัน ใช้ทาแก้โรคเรื้อน กัดแผลอักเสบเรื้อรัง ทาถูนวดแก้ปวดตามข้อ และอัมพาต ถ้ากินยางต้นในขนาดต่ำ ๆ เป็นยาถ่าย แต่ถ้ากินมากอาจทำให้สตรีแท้งบุตรได้
ใบ -> เป็นพิษ น้ำต้มเปลือก กินเป็นยาทำให้อาเจียน เป็นยาถ่าย แก้โรคลมชัก และเป็นยาฝาดสมาน

สมุนไพรตาตุ่มทะเล

รูปภาพจาก:samunpri.com,สมุนไพร