สมุนไพรเปล้าน้ำเงิน

สมุนไพรเปล้าน้ำเงิน

เปล้าน้ำเงิน Croton cascarilloides Raeusch.
ชื่อพ้อง C. cumingii Muell. Arg. C. pierrei Gangnep.
บ้างถิ่นเรียก เปล้าน้ำเงิน (ประจวบคีรีขันธ์) เปล้าเงิน (สงขลา) เป้าน้ำเงิน (นครราชสีมา สุราษฎร์ธานี) กะโดนหิน (เลย).

ไม้ต้น -> ขนาดเล็ก หรือ ไม้พุ่ม สูง 1-4.5 ม. กิ่งก้านเรียวเล็ก.
ใบ -> ติดหนาแน่นเป็นช่วง ๆ ตามข้อ และที่ปลายกิ่ว แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก ขอบขนานแกมรูปไข่ รูปหอกกลับ หรือ รูปข้าวหลามตัด โคนใบสอบแคบ โคนสุดมน ขอบใบเรียบ หรือ หยักเพียงเล็กน้อย ปลายใบแหลม หรือ เรียวแหลม. ใบกว้าง 3-7 ซม. ยาว 5-16 ซม เส้นแขนงใบ 6-11 คู่ ด้านล่างเห็นชัดกว่าด้านบน ด้านล่างปกคลุมด้วยเกล็ดหนาแน่น เกล็ดสีน้ำเงิน มีสีน้ำตาลสลับบ้างประปราย. ด้านบนเมื่อยังอ่อนอยู่มีเกล็ด ต่อมาจะหลุดร่วงไปจนเกลี้ยง. ก้านใบยาว 1-6 ซม มีเกล็ดปกคลุม.
ดอก -> สีขาว ออกเป็นช่อสั้น ๆ ที่ยอด มักจะออกทีละ 2 ช่อ ยาว 1.5-7 ซม. ดอกเพศผู้ และดอกเพศเมียอยู่บนช่อเดียวกัน. ดอกเพศผู้ รูปกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 มม. กลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่ ยาวประมาณ 2 มม. ขอบกลีบมีขน เกสรผู้มี 15 อัน อับเรณูรูปขบขนานแกมรูปไข่ โคนก้านเกสรมีขน. ดอกเพศเมีย ขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้ มีกลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่ หรือ รูปขอบขนาน ปลายมน โคนเชื่อมติดกัน ยาว 5-6 มม. กลีบดอก 5 กลีบ ลักษณะคล้ายเส้นด้าย ยาวประมาณ 2 มม. รังไข่กลม ท่อรังไข่ 3 อัน แต่ละอันแยกเป็น 2 แฉก ยาวประมาณ 3 มม.
ผล -> กลมแกมสามเหลี่ยม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6-7 มม. สีเขียว. เมล็ด รูปรี ด้านหนึ่งแบน ยาวประมาณ 4 มม.


นิเวศน์วิทยา

ขึ้นกระจัดกระจายตามไหล่เขาในป่าดงดิบ และตามที่ราบในป่าโปร่ง เหนือระดับน้ำทะเลไม่เกิน 200 ม.


สรรพคุณ

ราก -> น้ำต้มราก (หรือรวมกับเปลือกต้น) กินเป็นยาลดไข้ และแก้อาเจียน.
ใบ -> ใบแห้ง ใช้สูบแทนบุหรี่ได้

สมุนไพรเปล้าน้ำเงิน

รูปภาพจาก:flickr.com,nanagarden.com,สมุนไพร