สมุนไพรตะโกจัน

สมุนไพรตะโกจัน

ตะโกจัน Diospyros hasseltii Zoll.
บางถิ่นเรียกว่า ตะโกจัน (กรุงเทพฯ) ตะโก (นครราชสีมา) บาเนง (มลายู-นราธิวาส)

ไม้ต้น -> ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงถึง 30 ม. เปลือกสีเทาปนดำ มักเป็นสะเก็ดห้อยย้อยลง.
ใบ -> เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน รูปขอบขนาน หรือ มนแกมขอบขนาน กว้าง 6-13 ซม. ยาว 13-28 ซม. โคนใบมน ปลายทู่ หรือ หยักเป็นติ่งทู่ ๆ เนื้อใบค่อนข้างหนา และเกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน เส้นแขนงใบมี 9-16 คู่ เส้นโค้งปลายเชื่อมกับเส้นถัดไปก่อนถึงขอบใบ เส้นใบด้านบนเป็นร่อง ด้านล่างนูน ก้านใบยาวประมาณ 1 ซม. เกลี้ยง.
ดอก -> ดอกเพศผู้ และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน. ดอกเพศผู้ ออกรวมกันเป็นช่อเล็ก ๆ ตามง่ามใบ ก้านดอกยาว 2-10 มม. มีขนสีดำ ๆ กลีบรองกลีบดอก 4 กลีบ ยาว 5-7 มม. โคนกลีบไม่ติดกัน มีขนสั้นสีดำ ๆ ทั้ง 2 ด้าน กลีบดอก 4 กลีบ ยาว 10-15 มม. โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปทรงกระบอก มี 14-16 อัน อับเรณูเกลี้ยง ก้านอับเรณูมีขนยาวแซม รังไข่ฝ่อมีขนแน่น. ดอกเพศเมีย ออกรวมกันเป็นช่อ หรือ ออกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบ ก้านดอกยาว 1-2 ซม. มีขนสีดำ ๆ กลีบรองกลีบดอก และกลีบดอกมี 4-(5) กลีบ ลักษณะเหมือนดอกเพศผู้ แต่ใหญ่กว่า รังไข่ป้อม มีขนเป็นเส้นไหมแน่น ภายในแบ่งเป็น 8 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 1 หน่วย หลอดท่อรังไข่มี 4 หลอด. เกสรผู้ฝ่อมี 4-12 อัน อับเรณูเกลี้ยง ก้านอับเรณูมีขนยาวแข็ง.
ผล -> กลม หรือ แป้นเล็กน้อย เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-2.5 ซม. ผลแก่จัดแห้ง ผลอ่อนมีขนสีดำ สาก คลุมแน่น กลีบจุกผลมีขนดำ ๆ สากทั้ง 2 ด้าน โคนกลีบไมติดกัน กลีบตรง ขอบเป็นคลื่น พื้นกลีบจีบ ไม่มีเส้นลายกลีบ ก้านผลยาว 1-2 ซม.


นิเวศน์วิทยา

ขึ้นตามป่าดิบใกล้ ๆ ลำน้ำ เหนือระดับน้ำทะเล 10-300 ม. ทางภาคใต้.


สรรพคุณ

ผล -> ผลสุกกินได้ รสเฝื่อน ๆ เป็นยาฝาดสมาน แก้อาเจียน และแก้ท้องร่วง

สมุนไพรตะโกจัน

รูปภาพจาก:nanagarden.com,.bloggang.com